ทริคเทพื้นคอนกรีตให้เรียบสวย ทำเองได้ ง่ายกว่าที่คิด

การเทพื้นคอนกรีต ฟังดูแล้วเป็นงานใหญ่ ต้องจ้างมืออาชีพมาทำแน่นอน นั่นก็ไม่ใช่ความคิดที่ผิดสักทีเดียวค่ะ เพราะการได้มืออาชีพมาทำ ย่อมมีความพร้อมในด้านเครื่องไม้เครื่องมือและทักษะความชำนาญที่มากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากเรารู้หลักการของการเทพื้น ก็จะสามารถทำได้ด้วยตัวเองอย่างไม่ยากเย็น อย่างไรก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบในระยะยาวซึ่งร้ายแรงที่สุดคืออาจจะต้องรื้อมาเทใหม่เลยทีเดียว ดังนั้นเทคนิคที่พัมคินจะบอกคุณในบทความนี้ จะช่วยให้คุณยกระดับการเทพื้นได้อย่างเรียบเนียน ไม่น้อยหน้ามืออาชีพเลยทีเดียว 1. รู้ (พื้นที่) เขา รู้(พื้นที่) เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ควรจะทำเลยคือ การปรับระดับหน้าดินให้ได้ระดับและมีความสม่ำเสมอเท่ากันก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเทพื้นทางด้านนอกบ้านหรือในบ้าน เพราะหากปรับพื้นที่ไม่เสมอกัน ด้วยความต่างของระดับจะทำให้เกิดแรงดันรั้วในจุดนั้นแล้วดันพื้นผิวหน้าคอนกรีตให้เกิดการยกตัวแตกร้าวขึ้นได้ โดยถมดินและบดอัดให้เรียบเสมอกัน หากเป็นพื้นที่ในบ้าน มักถมสูงกว่าถนนนอกบ้านประมาณ 50 – 80 เซนติเมตร โดยไม่ควรถมสูงเกินไป เนื่องจากอาจเกิดแรงดันรั้วจนเสียหาย รวมถึงไม่ต้องใช้ปริมาณดินมากเพื่อให้ดินแน่นและแข็งแรงพอ และเททรายจนได้ระดับความหนาประมาณ 5เซนติเมตร แล้วบดอัดให้แน่น หากไม่บดให้แน่นจะทำให้ทรายยุบตัว และต้องใช้คอนกรีตปริมาณมากกว่าเดิม 2. กำหนดพื้นที่ ที่ต้องการเทพื้นคอนกรีต ขอบเขตและรอยต่อ หลังจากมีการเตรียมดินและคำนวณพื้นที่มาแล้ว ควรมีการวัดความหนาในพื้นที่ของมุมต่าง ๆ เพื่อให้กะได้ว่าจำนวนและปริมาณของคอนกรีตที่จะนำไปใช้ควรมีปริมาณเท่าไหร่ อย่าใช้การคำนวณพื้นที่จากการจดบันทึกโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดปัญหาความไม่แน่นอน เช่น ทำให้การเทพื้นคอนกรีตไม่ต่อเนื่อง ไม่ผสานเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน […]

เลือกแท่นตัดไฟเบอร์และใบตัดให้ปังทุกงาน

เครื่องตัดเหล็กแบบแท่นใช้ใบไฟเบอร์หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “แท่นตัดไฟเบอร์” เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยลักษณะการใช้งานที่สามารถตัดวัสดุได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง ไม่เปลืองแรงผู้ใช้งานมากนัก แถมยังมีราคาที่เป็นมิตรต่อช่างมืออาชีพตลอดจนผู้ทำงาน DIY อีกด้วย บทความนี้พัมคินจะมาแนะนำวิธีเลือกแท่นตัดไฟเบอร์ให้เหมาะกับงานของคุณ อ่านจบเลือกถูกแน่นอน ขนาดของชิ้นงานที่ต้องการตัด  ชิ้นงานที่ต้องการตัด ต้องรู้ก่อนว่า จะเอาไปใช้งานอะไร ตัดวัสดุประเภทไหน มีความหนาเท่าไหร่ และต้องการใช้งานหนักขนาดใด แล้วถึงจะรู้ว่า ควรใช้เครื่องตัดกำลังขนาดไหนถึงจะเหมาะกับงาน กำลังไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับชิ้นงาน  เราจะนำไปใช้ตัดเหล็กที่ความหนาเท่าไหร่เป็นส่วนใหญ่ กำลังของเครื่องยิ่งสูง จะทำให้เราตัดชิ้นงานที่หนาขึ้นได้โดยเครื่องไม่ overload มากเกินไป สำหรับงาน DIY ที่มักจะใช้เหล็กอยู่ที่ความหนาประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ส่วนช่างมืออาชีพก็อาจจะหนากว่านั้น เครื่องตัดไฟเบอร์ กำลังไฟ 1,200 วัตต์ ขนาดของเหล็กที่ตัดแล้วไม่เป็นภาระเครื่องมากเกินไปก็จะอยู่ที่ประมาณ 12 มิลลิเมตร เครื่องตัดไฟเบอร์ กำลังไฟ 1,800 วัตต์ ควรใช้ตัดเหล็กที่มีความหนาไม่เกิน 15 มิลลิเมตร  เครื่องตัดไฟเบอร์ กำลังไฟ 2,000 วัตต์ เหมาะสำหรับใช้ตัดเหล็กที่มีความหนาไม่เกิน 30 มิลลิเมตร เครื่องกำลังน้อย ก็จะทำให้เวลาที่เราใช้งานตัดเหล็กหนา […]

เลือกกล่องเครื่องมืออย่างไร ให้เหมาะกับคุณ

กล่องเครื่องมือช่างเป็นอีกหนึ่งไอเทมที่สามารถรองรับทุกงานเก็บของอย่างเป็นระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือช่าง เครื่องใช้ในบ้าน เหมาะสำหรับช่างมืออาชีพ ช่างอุตสาหกรรม และคนรักบ้านทั่วไป หากคุณเก็บเครื่องมือในกล่องเครื่องมืออย่างเป็นระเบียบ เวลาหยิบใช้ก็จะหาง่าย หยิบง่าย และนอกจากนั้น กล่องเครื่องมือบางรุ่นยังสามารถวางซ้อนกันจนเป็นตู้เครื่องมือได้เลย กล่องเครื่องมือจึงเป็นอีกหนึ่งไอเทมสำคัญของช่างมืออาชีพ ผู้ที่ทำงาน DIY ไปจนถึงบุคคลทั่วไปที่่สามารถนำไปเก็บอุปกรณ์อื่น ๆ นอกจากเครื่องมือช่างได้อีกด้วย วันนี้พัมคินจึงมาแชร์ทริคการเลือกกล่องเครื่องมือช่างให้เหมาะกับงานเก็บอุปกรณ์ของคุณค่ะ   ประเภทของกล่องเครื่องมือช่าง วัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือช่างนั้นมีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นกล่องเครื่องมือที่ทำจากเหล็ก กล่องเครื่องมือที่ทำจากพลาสติก ซึ่งพลาสติกนั้นก็มีอีกหลากหลายประเภทซึ่งจะมีความแข็งแรงแตกต่างกันไป กล่องเครื่องมือเหล็กจะมีความแข็งแรงทนทาน ใช้งานได้ยาวนาน แต่อาจต้องแลกมากับน้ำหนักที่มากและสนิมที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นหากจะใช้กล่องเครื่องมือช่างเหล็ก ควรพิจารณารุ่นที่มีการเคลือบป้องกันสนิม หรือหากใช้กล่องเครื่องมือพลาสติกก็มีข้อดีที่น้ำหนักเบา ในบางแบรนด์เช่นกล่องเครื่องมือของพัมคินที่ใช้พลาสติกเกรดดีและการผลิตที่ได้มาตรฐาน ก็ทำให้กล่องพลาสติกแข็งแรงไม่แพ้กล่องเหล็กเลยทีเดียว กล่องบางรุ่นสามารถทดสอบด้วยการขึ้นยืนเหยียบบนกล่อง กล่องที่มีความแข็งแรงทนทานมักไม่เกิดความเสียหายเมื่อรับน้ำหนักของคนที่ขึ้นเหยียบ กล่องเครื่องมือช่างบางชนิดที่มีขนาดและน้ำหนักที่ไม่ใหญ่จนเกินไป และมีมือจับหรือล้อสำหรับลากถือเป็นกล่องเครื่องมือช่างแบบพกพา มักทำจากพลาสติกที่ทนทาน เป็นกล่องเครื่องช่าง แบบพกพาที่เห็นได้บ่อยที่สุดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากน้ำหนักเบาจึงสะดวกอย่างยิ่งในการพกพา อย่างที่สอง พลาสติกที่ทนทานซึ่งทำจากพลาสติกทำให้เป็นตัวเลือกที่เชื่อถือได้ในการจัดเก็บเครื่องมือขนาดเล็ก กลาง จนไปถึงขนาดใหญ่ได้ นอกจากนี้ กล่องเครื่องมือช่าง แบบพกพา ยังมีทั้งขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้การจัดเป็นเรื่องง่าย กล่องเครื่องมือช่าง พลาสติกมักจะมีช่องต่างๆ เพื่อการจัดเรียงเครื่องมือที่ดีขึ้นทำให้ง่ายต่อการหยิบใช้นั่นเอง ขนาดของกล่องเครื่องมือช่าง กล่องเครื่องมือช่างมีหลายขนาดการเลือกใช้จึงต้องเหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ใช้บรรจุและลักษณะการทำงาน การเลือกกล่องเครื่องมือใหญ่เข้าไว้อาจดีต่อการจัดเก็บของได้มากมาย […]

คู่มือเลือกตลับเมตรให้โดนใจ พร้อมวิธีดูแลรักษา

ตลับเมตร (Tape Measures) มีต้นกำเนิดในปี 1829 เมื่อ เจมส์ เชสเตอร์แมน ได้จดสิทธิบัตรตลับเมตรที่ทำจากเหล็กและลวดเหลือใช้ นับเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์การในการวัดซึ่งมีน้ำหนักเบาที่สุดในขณะนั้น ต่อมาในปี 1868 ตลับเมตรได้รับการปรับเปลี่ยนให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยใช้การทำงานของสปริงที่ทำให้ตลับเมตรสามารถดึงกลับเมื่อกดปุ่ม นับจากนั้นตลับเมตรก็ถูกพัฒนามาจนมีฟังก์ชั่นมากมายในปัจจุบัน เนื่องจากตลับเมตรเป็นเครื่องมือวัดที่ใช้หลักการอันเรียบง่าย คือการกำหนดระยะลงบนสายเทป แล้วดึงสายออกมาเพื่อวัดระยะตามที่ต้องการ มีข้อดีคือมีสายที่สามารถโค้งงอได้ วัดระยะในสถานที่ได้หลากหลาย ไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า และที่สำคัญคือมีขนาดเล็ก พกพาง่าย ตลับเมตรจึงกลายเป็นเครื่องมือสามัญประจำช่างที่ขาดไม่ได้ และควรมีติดบ้านไว้ใช้งาน บทความนี้พัมคินจะมาบอกหมดเปลือกถึงวิธีการเลือกตลับเมตรที่คุณต้องรู้ก่อนซื้อ เมื่ออ่านจบแล้วรับรองว่าคุณจะเลือกตลับเมตรได้เหมาะกับการใช้งานแน่นอน ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงเมื่อเลือกตลับเมตร มาตรวัดบนตลับเมตร  ตลับเมตร จะมีหน่วยหรือมาตรวัดในการอ่าน 2 แบบด้วยกัน คือ เมตริก (Metric scale)  ได้แก่ เมตร เซนติเมน มิลลิเมตร และ Imperial scale คือหน่วยนิ้วนั่นเอง ในแต่ละประเทศจะใช้หน่วยวัดไม่เหมือนกัน เช่น อังกฤษ หรือ สหราชอาณาจักรและยุโรปส่วนมาก จะใช้ระบบการวัดแบบเมตริก ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่น อเมริกา หรือ อิตาลี […]

หมัดต่อหมัด เจียรมือ 2 รุ่นใหม่ 1000W vs 800W

เครื่องมือสามัญประจำช่างที่อยู่คู่ผู้ทำงานช่างมาอย่างยาวนาน ทำงานได้อย่างอเนกประสงค์เพราะช่างไทยเราใช้ทั้งเจียร ตัด ขัด จนกระทั่งดัดแปลงหลายรูปแบบอย่างการใช้เลื่อยบาร์โซ่มาประกอบติดเพื่อใช้เลื่อยได้อีกด้วย เครื่องเจียรมือ หรือที่เรียกกันว่าเจียร์มือ หรือลูกหมู เป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นงานเจียร งานขัด งานตัด และการปรับแต่งพื้นผิวที่หลากหลายไปตามการใช้งานร่วมกับใบประเภทต่าง ๆ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ควรมีติดบ้านไว้สำหรับงาน DIY และซ่อมแซมบ้านด้วยตัวคุณเอง ไปจนถึงการทำงานแบบช่างมืออาชีพ หากโลกของเครื่องมือช่างมีสว่านเป็นพระเอก เจียรมือก็อาจเป็นผู้ร้ายได้เช่นกัน เพราะช่างมืออาชีพหลายท่านน่าจะเคยบาดเจ็บจากการใช้งานเจียรมือ ไม่ว่าจะเป็นการโดนบาด ใบตัดกระเด็น ด้วยรูปแบบการทำงานโดยใช้การหมุนจำนวนรอบสูงต่อนาที เมื่อใช้กับใบตัด ใบขัด หรือใบเจียร จึงอาจทำให้เกิดอันตรายได้หากขาดความระมัดระวังในการใช้งาน แต่ถ้าหากเราใช้งานอย่างถูกวิธี ตัวร้ายก็จะกลายเป็นตัวเอกแสนดีได้เช่นกัน วันนี้พัมคินมีตัวช่วยการใช้งานเจียรมือเพื่อความปลอดภัยมาฝากกันค่ะ นั่นก็คือ เจียรมือ 4 นิ้ว 2 รุ่น 2 กำลังวัตต์ ที่จะมาเปรียบเทียบหมัดต่อหมัดให้ทุกคนเห็นกัน บอกหมดเปลือกทุกข้อดี-ข้อเสีย และที่สำคัญบอกได้เลยว่า เรื่องความปลอดภัย ไม่เป็นรองใครในใต้หล้า  ยกที่หนึ่ง หมัดต่อหมัด กำลังไฟฟ้า 1000 วัตต์ VS 800 วัตต์ วัตต์ (Watt) เป็นอีกหน่วยหนึ่งของระบบไฟฟ้า […]

เลื่อยชักไร้สาย 12V vs 20V เลือกที่ใช่กับงานคุณ

เลื่อยชักไร้สายเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้ทั้งการเลื่อยไม้ เหล็ก PVC และวัสดุอื่น ๆ อย่างอเนกประสงค์ นอกจากนั้นยังมีความคล่องตัวในการใช้งาน เพราะไม่มีสายที่จะเป็นข้อจำกัดในการใช้งานนอกสถานที่ วันนี้พัมคินมีเลื่อยชักไร้สายสองรุ่นมาแนะนำค่ะ สำหรับใครที่ยังลังเลว่าจะเลือก 20V หรือ 12V ดี อ่านบทความนี้จบรับรองว่าตัดสินใจได้แน่นอน เริ่มจากการชวนมาส่องสเปคเลื่อยชักไร้สาย 20V รุ่น INF-20RSBL มอเตอร์ไร้แปรงถ่าน เลื่อยชักไร้สาย รุ่น INF-20RSBL มาพร้อมมอเตอร์แบบไร้แปรงถ่าน หรือ Brushless motor เป็นมอเตอร์บัสเลส คือชนิดของมอเตอร์ที่ไม่มีการแปรผันของไฟฟ้า เพราะแหล่งจ่ายไฟจะส่งพลังงานไปยังมอเตอร์โดยตรง ทำให้ บัสเลสมอเตอร์มีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น มีอายุการใช้งานที่ยืนยาวขึ้น ระบบการทำงานค่อนข้างเงียบ มีขนาดมอเตอร์ที่เล็กและเบากว่า และยังดูแลรักษาง่ายเพราะไม่ต้องเปลี่ยน “แปรงถ่าน” เหมือนเครื่องมือที่เป็นมอเตอร์แบบใช้แปรงถ่าน (Brushed) แปรงถ่านคือส่วนที่สัมผัสกันระหว่างขั้วไฟฟ้าของโรเตอร์กับสเตเตอร์ ทำให้มอเตอร์ชนิดนี้เกิดความเสียดสีกันเกิดขึ้น เมื่อเกิดการเสียดสีไปเรื่อย ๆ จะเกิดการสึกหรอ ทำให้กระแสไฟฟ้าเดินไม่สะดวก มอเตอร์ไม่ทำงาน จึงทำให้ต้องเปลี่ยนแปรงถ่านใหม่ใหม่ นั่นทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมนั้น เครื่องมือที่ใช้มอเตอร์แบบไร้แปรงถ่านจึงมีประสิทธิภาพที่ดีกว่ามาก ส่งผลให้เลื่อยชักไร้สายรุ่นนี้มีน้ำหนักเบา ทรงพลัง ทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ขุมกำลัง INFINITY POWER SHARE […]

ข้อดี-ข้อเสีย ของระบบไฟ 1 เฟส และ 3 เฟส

เมื่อเราสร้างที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ นอกจากระบบประปาและการระบายน้ำแล้ว ระบบไฟฟ้าก็มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต โดยปกติแล้วเมื่อเราซื้อบ้านสำเร็จรูปหรือจ้างช่างมาติดตั้งระบบไฟ มักจะถูกติดตั้งระบบไฟฟ้า 1 เฟส เนื่องด้วยค่าอุปกรณ์และงบประมาณการติดตั้งที่ไม่สูงนัก ซึ่งโดยปกติแล้วก็เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยทั่วไป เพราะการออกแบบที่เผื่อเกินไปและเกินความต้องการ จะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง การออกแบบที่ลดขนาดที่ต้องการลงไป ก็ทำให้ไฟตก จนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ทำงานได้ เพราะความต้องการในการใช้มากกว่ากระแสไฟฟ้าที่จ่ายได้ในเวลานั้น ๆ วันนี้พัมคินมีความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า 1 phase และ 3 phase มาฝากกันค่ะ การก่อสร้างที่พักอาศัยสำหรับประเทศไทย ระบบไฟฟ้าที่ใช้กันแพร่หลาย คือระบบไฟฟ้า 1 phase และ 3 phase ซึ่งทั้ง 2 ระบบนี้ใช้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ตามขนาดความต้องการของการใช้ไฟฟ้า ในบ้านและที่พักอาศัย ปัจจุบันมีอุปกรณ์บางชนิดที่ใช้ไฟระบบ 3 phase จึงทำให้เราต้อง ตรวจสอบว่าการเลือกซื้อบ้านที่มีการออกแบบระบบไฟฟ้าที่ดี นั้น ช่วยลดปัญหาที่อาจะเกิดขึ้นเช่นไฟฟ้ากำลังไม่เพียงพอ ต่อการใช้งานของเจ้าของบ้าน โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในการส่งและจำหน่ายระบบแรงต่ำ คือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่บริการตามที่กำหนด วิธีสังเกตุง่ายๆ ให้ดูว่าบ้านที่เราเลือกซื้อนั้นเป็น ระบบไฟฟ้า […]

เครื่องมืองานไฟฟ้า มาตรฐาน VDE คืออะไร

VDE คืออะไร? สายช่างมืออาชีพหลายท่านน่าจะคุ้นเคยกับคำว่า “มาตรฐาน VDE” กันดีอยู่แล้วนะคะ แต่สำหรับบุคคลทั่วไปที่ยังไม่คุ้นเคยกับคำนี้ พัมคินมีความรู้ดี ๆ มาฝากกันค่ะ VDE ย่อมาจาก Verband Deutscher Electrotechniker เป็นองค์กรด้านการทดสอบและรับรองอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ส่วนประกอบและระบบไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เครื่องมือทางไฟฟ้า ได้รับการทดสอบเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง VDE Institute มีสำนักงานใหญ่ใน Offenbach ก่อตั้งขึ้นตรงกับปี พ.ศ. 2463 ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 36,000 คน (1,300 บริษัท) เพราะฉะนั้น เครื่องมือที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน VDE จึงสามารถนำไปใช้กับงานไฟฟ้าได้อย่างมั่นใจในความปลอดภัยนั่นเอง VDE เป็นองค์กรระดับชาติที่รับผิดชอบในการสร้างและรักษามาตรฐานในสาขาเหล่านี้ มาตรฐานที่พัฒนาร่วมกันระหว่าง VDE และ DIN ซึ่งเป็นสถาบันเพื่อการมาตรฐานแห่งเยอรมัน (Deutsches Institut für Normung e.V. ) ได้รับการส่งเสริมภายใต้ร่มธงของ DKE คณะกรรมาธิการเยอรมันด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สายไฟฟ้าที่มีการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยโดยการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจาก Verband Elektrotechnik, Elektronik […]


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies)
Pumpkin ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

บริษัท พัมคิน คอร์ปอเรชัน จำกัด (“บริษัท”) เก็บข้อมูลของท่านเพื่อใช้ในการสั่งซื้อสินค้และรับประกันสินค้า และขอความยินยอมในการนำข้อมูลไปใช้ทางการตลาด โดยท่านสามารถดูรายละเอียดข้อมูลที่เก็บ ระยะเวลาการเก็บ การใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรืออื่นๆ และข้อมูลการติดต่อได้ที่รายละเอียด (กดดูรายละเอียด)

0
No products in the cart.