แชร์ไปที่

ทริคเทพื้นคอนกรีตให้เรียบสวย ทำเองได้ ง่ายกว่าที่คิด

การเทพื้นคอนกรีต ฟังดูแล้วเป็นงานใหญ่ ต้องจ้างมืออาชีพมาทำแน่นอน นั่นก็ไม่ใช่ความคิดที่ผิดสักทีเดียวค่ะ เพราะการได้มืออาชีพมาทำ ย่อมมีความพร้อมในด้านเครื่องไม้เครื่องมือและทักษะความชำนาญที่มากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากเรารู้หลักการของการเทพื้น ก็จะสามารถทำได้ด้วยตัวเองอย่างไม่ยากเย็น
อย่างไรก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบในระยะยาวซึ่งร้ายแรงที่สุดคืออาจจะต้องรื้อมาเทใหม่เลยทีเดียว ดังนั้นเทคนิคที่พัมคินจะบอกคุณในบทความนี้ จะช่วยให้คุณยกระดับการเทพื้นได้อย่างเรียบเนียน ไม่น้อยหน้ามืออาชีพเลยทีเดียว

1. รู้ (พื้นที่) เขา รู้(พื้นที่) เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ควรจะทำเลยคือ การปรับระดับหน้าดินให้ได้ระดับและมีความสม่ำเสมอเท่ากันก่อน ไม่ว่าจะเป็นการเทพื้นทางด้านนอกบ้านหรือในบ้าน เพราะหากปรับพื้นที่ไม่เสมอกัน ด้วยความต่างของระดับจะทำให้เกิดแรงดันรั้วในจุดนั้นแล้วดันพื้นผิวหน้าคอนกรีตให้เกิดการยกตัวแตกร้าวขึ้นได้ โดยถมดินและบดอัดให้เรียบเสมอกัน หากเป็นพื้นที่ในบ้าน มักถมสูงกว่าถนนนอกบ้านประมาณ 50 – 80 เซนติเมตร โดยไม่ควรถมสูงเกินไป เนื่องจากอาจเกิดแรงดันรั้วจนเสียหาย รวมถึงไม่ต้องใช้ปริมาณดินมากเพื่อให้ดินแน่นและแข็งแรงพอ และเททรายจนได้ระดับความหนาประมาณ 5เซนติเมตร แล้วบดอัดให้แน่น หากไม่บดให้แน่นจะทำให้ทรายยุบตัว และต้องใช้คอนกรีตปริมาณมากกว่าเดิม

2. กำหนดพื้นที่ ที่ต้องการเทพื้นคอนกรีต ขอบเขตและรอยต่อ

หลังจากมีการเตรียมดินและคำนวณพื้นที่มาแล้ว ควรมีการวัดความหนาในพื้นที่ของมุมต่าง ๆ เพื่อให้กะได้ว่าจำนวนและปริมาณของคอนกรีตที่จะนำไปใช้ควรมีปริมาณเท่าไหร่ อย่าใช้การคำนวณพื้นที่จากการจดบันทึกโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดปัญหาความไม่แน่นอน เช่น ทำให้การเทพื้นคอนกรีตไม่ต่อเนื่อง ไม่ผสานเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นต้น ส่งผลให้คอนกรีตไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ทำให้ต้องสั่งเพิ่มแถมทำงานล่าช้าไปอีก

3. การเตรียมแบบหล่อที่แข็งแรง

แบบหล่อปูนในการเทพื้นคอนกรีต สามารถใช้ได้ทั้งไม้ พลาสติก เหล็กสำเร็จรูป แต่จะต้องให้ความสำคัญกับความแข็งแรง และบริเวณที่อาจเกิดรอยรั่วต่าง ๆ เพื่อป้องกันน้ำปูนไหลทะลัก โดยเฉพาะบริเวณใกล้กับเหล็กเสริม แนะนำใช้เหล็กกระทุ้ง หรือเครื่องจี้ไม่ให้น้ำปูนไหลออกจากแบบหล่อ ในกรณีที่ใช้ไม้แบบพลาสติกหรือเหล็กสำเร็จรูป มักไม่ค่อยมีปัญหานัก เพราะวัสดุเหล่านี้ถูกออกแบบเพื่อการใช้งานหล่อเทพื้นปูนอยู่แล้ว

4. ผสมปูนให้ได้ในปริมาณที่เหมาะสม

ส่วนผสมของคอนกรีตนั้นมีความสำคัญ โดยทั่วไปสามารถใช้ปูนสำหรับงานโครงสร้างทั่วไป ในอัตราส่วน ปูนซีเมนต์ : ทราย : หิน เป็น 1 : 2 : 4 ซึ่งจะแข็งแรงมากพอสำหรับงานที่ต้องรับน้ำหนักมากอย่างพื้น หรือหากใช้ปริมาณมากก็อาจสั่งปูนผสมสำเร็จจากผู้ผลิตมาก็จะสะดวกยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญคือการคำนวณปริมาณไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป

5. เทพื้นให้เรียบสวย

เทคอนกรีตลงพื้นที่ที่เตรียมไว้แล้วเกลี่ยให้ทั่วและวางตะแกรงเหล็กลงไปอีกชั้นเมื่อได้ระดับที่ต้องการ เทคอนกรีตลงไปอีกรอบหนึ่งตามระดับที่กำหนดไว้ หลังจากการเทพื้นคอนกรีตเสร็จสิ้น ให้ทำการแต่งหน้าผิวสัมผัสให้เรียบร้อย ปรับให้มีความเรียบเนียนโดยใช้ท่อปรับผิวหน้าคอนกรีต หากต้องการปูกระเบื้องอาจมีการกรีดผิวหน้าคอนกรีตให้เป็นรอยริ้วก่อนทำการปูกระเบื้องในขั้นตอนต่อไป ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิที่มีความร้อนสูง อาจก่อให้เกิดปัญหาคอนกรีตแข็งตัวเร็วกว่าปรกติ ควรหาตัวช่วยในการบังแสงในระหว่างการเทคอนกรีต หากคอนกรีตยังไม่แข็งตัว ห้ามเหยียบบริเวณหน้าผิวคอนกรีตเด็ดขาด เพราะจะทำให้ผิวคอนกรีตถูกกระทบกระเทือน ส่งผลต่อการยึดติดภายในเนื้อคอนกรีตได้

6. กำจัดฟองอากาศในเนื้อปูน ตัวการบ่อนทำลายความแข็งแรงของคอนกรีต

ในกระบวนการเทคอนกรีตอาจเกิดฟองอากาศในเนื้อได้ ให้ใช้เครื่องจี้ปูนเพื่อไล่ฟองอากาศ โดยการจุ่มสายจี้ปูนลงในเนื้อปูนให้ความสั่นสะเทือนไล่ฟองอากาศออกไปจากเนื้อปูน เมื่อเนื้อคอนกรีตแห้งจะมีความแกร่ง ไม่แตกร้าว นอกจากนั้นยังทำให้พื้นเรียบเนียนสวย เมื่อฉาบหรือตกแต่งก็จะง่าย

7. การตรวจสอบหลังเทพื้นคอนกรีต

สังเกตดูความผิดปกติต่าง ๆ เช่น รอยรั่ว รอยร้าว รวมไปถึงตรวจสอบว่ามีคอนกรีตโก่งตัวหรือไม่ เพื่อที่จะแก้ข้อผิดพลาดได้เลยทันที ช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ที่อาจทำให้เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมเป็นจำนวนมาก เนื่องจากคอนกรีตนั้นจะขยายและยืดหดตัวเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง การทำรอยต่อให้กับพื้นนั้นคือการบังคับให้คอนกรีตแตกร้าวตามแนวเส้นที่ทำรอยต่อไว้ จะช่วยลดความเสี่ยงของการแตกร้าวแบบสะเปะสะปะ ทั้งนี้เนื่องจากพื้นปูนจะมีการหดตัวเนื่องจากการสูญเสียน้ำ ทำให้เกิดแรงดึงภายในจึงทำให้เกิดรอยร้าวอย่างที่เห็นได้ทั่วไป

8. บ่มคอนกรีต

เมื่อคอนกรีตเริ่มมีการแข็งตัวและปรับผิวหน้าให้เรียบสวยงามแล้ว ต้องมีการฉีดน้ำให้ชุ่มทั่วบริเวณ ถือเป็นการบ่มพื้นคอนกรีต โดยจะใช้เวลา 7 วันสำหรับขั้นตอนนี้ จะช่วยให้พื้นคอนกรีตที่ได้แข็งแรง ทนทานมากยิ่งขึ้น โดยขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก หากไม่บ่มคอนกรีตในระยะเวลาที่เหมาะสม จะทำให้พื้นรับแรงได้น้อยกว่าที่ควร และทำให้เกิดการแตกร้าวได้ง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดสนิมที่เหล็กเสริมได้ง่ายมากขึ้นอีกด้วย

เห็นไหมคะว่าการเทคอนกรีตนั้นไม่ยากอย่างที่คิด เพียงคำนึงถึงปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นก็จะได้พื้นบ้านที่เรียบเนียนสวย แข็งแกร่ง ทนทาน ไม่แตกร้าว และด้วยตัวช่วยดี ๆ อย่างเครื่องจี้ปูนและสายจี้ปูนจากพัมคิน ที่ไล่ฟองอากาศ เพิ่มความแข็งแรงของพื้นคอนกรีต สามารถตกแต่งผิวหน้าได้อย่างสะดวกมากขึ้น เพื่อให้การเทพื้นปูนหน้าบ้านหรือบริเวณที่ต้องการ


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies)
Pumpkin ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

บริษัท พัมคิน คอร์ปอเรชัน จำกัด (“บริษัท”) เก็บข้อมูลของท่านเพื่อใช้ในการสั่งซื้อสินค้และรับประกันสินค้า และขอความยินยอมในการนำข้อมูลไปใช้ทางการตลาด โดยท่านสามารถดูรายละเอียดข้อมูลที่เก็บ ระยะเวลาการเก็บ การใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรืออื่นๆ และข้อมูลการติดต่อได้ที่รายละเอียด (กดดูรายละเอียด)

0
No products in the cart.