ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนไทยส่วนใหญ่เริ่มรู้จักและคุ้นเคยกับสิ่ง ๆ ที่เรียกว่า ฝุ่น PM2.5 ที่มักมาเยือนในช่วงหน้าแล้ง ปกคลุมน่านฟ้าหลายพื้นที่ของประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปลายฤดูหนาวลากยาวจนถึงช่วงฤดูร้อน ซึ่งต้นตอหลัก ๆ ของปัญหาควันพิษที่เกิดขึ้นนั้น มีทั้งปัญหาไฟป่าและการเผาผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะในหลายจังหวัดทางภาคเหนือที่มีสถิติผู้ป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศนับแสนคนต่อปี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ตามด้วยกลุ่มโรคตาอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคคออักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดอักเสบ โรคจมูกอักเสบเรื้อรัง โรคหอบหืด ไข้หวัดใหญ่ โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ตลอดจนถึงโรคที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายระยะยาว เมื่อพูดถึงปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย หนึ่งในปัจจัยที่ถูกพูดถึงเป็นลำดับต้น ๆ คือเรื่องไฟป่า หมอกควันที่เกิดจากไฟป่า เกิดจากการสันดาปที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้เกิด ควันไฟ ฝุ่นละออง หมอก ขี้เถ้า และแก๊สพิษต่าง ๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ก๊าซโอโซน (O3) เป็นต้น โดยมลพิษพวกนี้จะปนเปื้อนอยู่กับอนุภาคหมอกควัน ซึ่งแน่นอนว่าพื้นที่ที่อากาศแห้ง นิ่ง ไม่มีลมพัด […]