ในหลายครั้งการทำงานช่างอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อจำกัดบางอย่าง หรือสภาวะแวดล้อมที่ยากลำบากต่อการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการขาดแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องมือ การขาดแหล่งน้ำ ไปจนกระทั่งขาดแสงสว่าง หลายครั้งช่างต้องเข้าทำงานในหน้างานที่ยังไม่ติดตั้งระบบไฟฟ้าและประปา จึงทำให้การทำงานเป็นไปอย่างไม่สะดวกนัก
วันนี้พัมคินมีอีกหนึ่งไอเทมสารพัดประโยชน์ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาแสงสว่างไม่เพียงพอในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นอาคารหรือไซต์งานที่ยังไม่ติดตั้งระบบไฟฟ้า การซ่อมบำรุงช่วงล่างรถยนต์ สามารถนำไปแคมปิ้งก็ถูกใจสายเที่ยว หรือใช้งานเป็นไฟฉุกเฉินยามไฟดับในบ้านก็โล่งใจหายห่วง นั่นก็คือ ไฟสปอตไลท์ไร้สายนั่นเองค่ะ
และสำหรับไฟสปอตไลท์ไร้สายที่พัมคินจะมาแนะนำทุกท่านในวันนี้ ก็คือประเภทที่ใช้หลอด LED นั่นเองค่ะ LED คือ (Light Emitting Diode) หรือ ‘ไดโอดชนิดเปล่งแสง’ ที่สามารถนำไปติดตั้งในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงสถานะ รวมถึงเพื่อใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงแบบต่าง ๆ ซึ่งที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดก็คือ หลอดไฟ LED
หลอดไฟ LED ได้ถือกำเนิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1962 หรือเมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว โดย Nick Holonyak Jr. ได้คิดค้น LED แสงสีแดงขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นหลอดไฟ LED สำหรับแสงสถานะ (LED Indicator light) สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ แต่ LED ในยุคแรกนั้นยังไม่สามารถนำมาผลิตเป็นหลอดไฟแสงสว่างได้ เนื่องจากหลอดไฟ LED สีแดงนั้นมีประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างต่ำและไม่ทนต่อสภาพแวดล้อม
ต่อมาในปี ค.ศ. 1996 ในที่สุดความพยายาม ที่ยาวนานก็ประสบความสำเร็จ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้ค้นพบการผลิต LED จากผลึกของสาร Gallium Nitride (GaN) และนับว่าเป็นการปฎิวัติวงการ LED ไปอย่างสิ้นเชิง Shiji Nakamura และทีม ได้รับรางวัล Nobel Prize สาขาฟิสิกส์ ในปี 2014 สำหรับการคิดค้น LED แสงสีฟ้านี้ขึ้นมา
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงในการเลือกไฟสปอตไลท์ LED
ค่าอุณหภูมิสี
เมื่อเราเปรียบเทียบสปอร์ตไลท์ LED กับไฟสปอร์ตไลท์แบบฮาโลเจน เราสังเกตเห็นความแตกต่างที่สำคัญในเรื่องอุณหภูมิสีของแสง สปอร์ตไลท์ LED ทำให้เราเลือกอุณหภูมิสีได้ ทำให้เราสามารถสร้างอารมณ์ที่ต้องการในการตกแต่งภายในได้ โดยอุณหภูมิสีมีหน่วยวัดเป็นเคลวิน (K) ยิ่งตัวเลขสูง แสงเป็นสีน้ำเงิน (เย็นกว่า) แสงของสปอร์ตไลท์โดยทั่วไปจะมี 3 โทน คือ แสงขาว Daylight (6000K-6500K) แสงขาวนวล Cool White (4000K) และแสงส้ม (3000K-3500K) ซึ่งเราต้องคำนึงถึงลักษณะงานที่ใช้ด้วย
มุมองศาของแสง (Beam Angle)
หากเราต้องการให้แสงของโคมสปอร์ตไลท์นั้นพุ่งเป็นเส้นตรงโฟกัสไปยังจุดใดจุดหนึ่งควรจะเลือกมุมกระจายแสง (Beam Angle) ที่แคบตั้งแต่ 15 – 90 องศา เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับงานเน้นพาะจุด สปอร์ตไลท์ที่ฉายลำแสงแคบสามารถปรับได้ง่ายสามารถปรับทิศทางแสงไปยังจุดที่ต้องการได้ กลับกันถ้าหากต้องการให้แสงกระจายออกไปทั่วบริเวณ ไม่กระจุกตัวก็ควรเลือกมุมกระจายแสงที่กว้างตั้งแต่ 110 – 120 องศา
ความสว่างของหลอดไฟ LED
ปริมาณของแสงที่หลอดไฟผลิตได้จะมีหน่วยวัดเป็นหน่วยลูเมน (lm) โดย 1 Lumen จะมีความเข้มข้นเท่ากับแสงเทียน 1 เล่มในรัศมี 1 ฟุตหรือ 1 ตารางฟุต ยิ่งมีค่ามากเท่าไหร่เเปลว่าหลอดไฟดวงนั้นยิ่งจะมีความสว่างมากขึ้น หลอดไฟที่มีค่าลูเมนสูง มักมีความสามารถในการให้แสงสว่างและชัดเจนในพื้นที่ที่ใช้งาน คนส่วนใหญ่ที่ยังเข้าใจผิดว่า เวลาเลือกซื้อให้ดูที่ค่าวัตต์เพราะวัตต์ เป็นตัวบ่งบอกค่าความสว่าง เเต่ที่จริงเเล้ววัตต์เป็นค่าที่บอกถึงค่าพลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้ ต่อไปนี้เวลาเลือกซื้อหลอดไฟ ห้ามดูเเค่ค่าวัตต์ ต้องดูค่าลูเมนควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ได้ค่าของแสงสว่างที่ถูกต้อง และเหมาะสมกับการใช้งานนั่นเอง โดยเราสามารถเทียบความสัมพันธ์ของค่าวัตต์และลูเมนได้ดังนี้
หลอดไฟ LED ที่มีค่าลูเมนสูงและค่าวัตต์ต่ำ จะมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูง ให้แสงสว่างมาก และช่วยประหยัดพลังงาน
หลอดไฟ LED ที่มีค่าลูเมนสูงแต่ค่าวัตต์สูงด้วย อาจจะใช้พลังงานมากกว่า และค่าใช้จ่ายสูงขึ้น
หลอดไฟ LED ที่มีค่าลูเมนต่ำแต่ค่าวัตต์ต่ำ อาจจะให้แสงสว่างน้อยลง และใช้พลังงานน้อยกว่า