แชร์ไปที่

เคล็ดลับการเลือกและดูแลรักษาเลื่อยยนต์

เลื่อยยนต์ เป็นไอเทมที่มีความสำคัญต่องานสวน โดยเฉพาะในงานเกษตรที่ปลูกไม้ใหญ่ ไม้ยืนต้น ที่ต้องการการตัดแต่งดูแลรักษาอยู่เสมอ ด้วยความสามารถตัดไม้ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว บทความนี้พัมคินจะมาแนะนำการเลือกเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีคุณภาพ พร้อมทริคเด็ดเคล็บลับในการบำรุงรักษาเลื่อยยนต์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

เครื่องยนต์ 2T หรือ 4T

เครื่องยนต์ของเลื่อยยนต์ มีทั้งแบบเครื่องยนต์ 2 จังหวะ (2T) และ 4 จังหวะ (4T) โดยเครื่องยนต์ 2 จังหวะ มีจุดเด่นคือน้ำหนักที่เบากว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะ จึงทำให้น้ำหนักของเลื่อยยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะมีน้ำหนักเบากว่า เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องใช้งานเป็นเวลานาน และถึงแม้ว่าเครื่องยนต์ 2 จังหวะจะมีน้ำหนักเบากว่า แต่กลับให้กำลังในการทำงานมากกว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะอีกด้วย นอกจากนั้นแล้วเครื่องยนต์ 2 จังหวะยังมีความซับซ้อนน้อยกว่า มีชิ้นส่วนประกอบภายในน้อยกว่า ทำให้มีขนาดกะทัดรัดกว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะ ช่วยให้ทำงานในพื้นที่แคบได้ดีกว่า นำขึ้นไปตัดบนต้นไม้ที่สูงก็สะดวกสบาย แต่ข้อดีของเครื่องยนต์ 4 จังหวะนั้นก็มีเช่นกันในเรื่องของอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่น้อยกว่า และมีเสียงการทำงานน้อยกว่าเครื่องยนต์ 2 จังหวะ 

เลือกขนาดบาร์เลื่อยโซ่อย่างไรให้ถูกกฎหมาย

ความยาวของบาร์กำหนดเส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุดที่เลื่อยยนต์สามารถตัดได้ ตัวอย่างเช่น เลื่อยยนต์ 18 นิ้วสามารถตัดลำต้นต้นไม้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 นิ้วได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะสามารถครอบครองเลื่อยโซ่ยนต์ขนาดความยาวเท่าไหร่ก็ได้ สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือมีข้อกฎหมายที่จำกัดขนาดของเลื่อยยนต์ที่คนทั่วไปสามารถครอบครองได้อยู่ด้วย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ตามพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ.๒๕๔๕ ลักษณะเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ ที่กำหนดให้ผู้ใดมีการผลิต นำเข้า หรือครอบครองเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีกำลังเครื่องตั้งแต่ 1 แรงม้าขึ้นไป และแผ่นบังคับโซ่ (บาร์) ที่มีขนาดความยาวตั้งแต่ 12 นิ้วขึ้นไป จะต้องมีใบขออนุญาตตามหลักเกณฑ์ของกฎกระทรวง เนื่องจากเลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ที่มีกําลังเครื่องตั้งแต่ 1 แรงม้าและมีขนาดบาร์ตั้งแต่ 12 นิ้วขึ้นไป เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถใช้ในการตัดไม้ทําลายป่าได้ในเวลาอันรวดเร็ว จึงได้กําหนดให้เลื่อยโซ่ยนต์และส่วนประกอบของเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ที่ไม่ได้มีใบขออนุญาต ผู้ผลิต นำเข้า หรือครอบครอง มีความผิดตามมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา ๑๗ จำคุกไม่ เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและริบเลื่อยโซ่ยนต์

นั่นหมายความว่าการครอบครองเลื่อยยนต์ได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตนั้น ต้องเป็นเลื่อยยนต์ที่มีความยาวของบาร์โซ่ไม่เกิน 12 นิ้วนั่นเอง ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ของพัมคินนั้นมีขนาด 11.5 นิ้ว และนำเข้าภายใต้ข้อกำหนดหลักเกณฑ์ของกระทรวงฯ และกรมป่าไม้อย่างถูกต้อง จึงใช้งานได้อย่างมั่นใจ ถูกกฎหมายแน่นอน

คาร์บูเรเตอร์เป็นหัวใจสำคัญของระบบการจ่ายน้ำมัน

คาบูเรเตอร์เป็นส่วนประกอบสำคัญของเครื่องเลื่อยยนต์ โดยจะทำหน้าที่ผสมอากาศและเชื้อเพลิงในปริมาณที่เหมาะสมกับการเผาไหม้ คาบูเรเตอร์จึงมีบทบาทสำคัญในการทำงานของเลื่อยยนต์ โดยคาบูเรเตอร์มี 3 ส่วนหลัก ได้แก่ Butterfly Valve หรือ วาล์วปีกผีเสื้อ วาล์วเข็มและคันโยก เมื่อกดไกคันเร่ง วาล์วปีกผีเสื้อจะเปิดออกเพื่อให้อากาศไหลเข้าสู่เครื่องยนต์ ขณะเดียวกัน วาล์วเข็มจะฉีดเชื้อเพลิงจากถังเชื้อเพลิงของคาบูเรเตอร์ผสมกับอากาศ เมื่อส่วนผสมของอากาศและเชื้อเพลิงเข้าสู่เครื่องยนต์ หัวเทียนจะจุดประกาย ทำให้เกิดพลังในการหมุนโซ่เลื่อยยนต์

เลื่อยยนต์ที่ใช้คาบูเรเตอร์ไม่มีคุณภาพอาจก่อนให้เกิดปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นการหยุดของเครื่องขณะใช้งาน เกิดควันมากเกินไป และส่งผลต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ในระยะยาว พัมคินจึงใช้คาบูเรเตอร์เกรด A เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าการทำงานของเลื่อยยนต์นั่นมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงในปริมาณที่แม่นยำ ให้การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ให้อายุการทำงานของเครื่องยนต์ที่ยาวนาน

เลื่อยยนต์ที่ใช้คาบูเรเตอร์ไม่มีคุณภาพอาจก่อนให้เกิดปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นการหยุดของเครื่องขณะใช้งาน มีควันมากเกินไป และส่งผลต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ในระยะยาว พัมคินจึงใช้คาบูเรเตอร์เกรด A เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าการทำงานของเลื่อยยนต์นั่นมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงในปริมาณที่แม่นยำ ให้การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ให้อายุการทำงานของเครื่องยนต์ที่ยาวนาน

การเตรียมความพร้อมแก้ปัญหา และวิธีดูแลรักษาเลื่อยโซ่ยนต์

การบำรุงรักษาเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือต่าง ๆ ไม่เว้นแต่เลื่อยยนต์ซึ่งต้องมีการบำรุงรักษาทุกครั้งหลังจากการใช้งานเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น นอกจากนั้นแล้วเราจะมาแนะนำการการใช้งานเบื้องต้นและการแก้ปัญหาระหว่างการใช้งานเลื่อยยนต์ซึ่งผู้ใช้อาจพบได้ระหว่างใช้งาน

ปัญหาเครื่องไม่แรง กำลังตกหรือดับไปดื้อ ๆ

อันดับแรกที่เราต้องเช็คคือน้ำมันเชื้อเพลิง หากน้ำมันเชื้อเพลงหมดให้ทำการผสมแล้วเติมเข้าไปใหม่ หรือทำการเช็คน้ำมันหล่อโซ่หรือน้ำมันเครื่อง หากน้ำมันเครื่องแห้งให้เติมเข้าไปเพื่อชะโลมให้ตัวโซ่ทำงานได้ไหลลื่นขึ้น

ปัญหาเร่งเครื่องแล้วเครื่องดับ 

ปัญหานี้อาจเกิดจากการจ่ายน้ำมันหรืออากาศที่ไม่เสถียร หรืออาจเกิดจากคอยล์ไฟ ที่จ่ายไฟมาให้หัวเทียนเกิดความไม่เสถียร สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้โดย ล้างทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์แล้วปรับจูนอากาศน้ำมันใหม่ แต่ถ้ายังไม่หายให้เปลี่ยนซีลข้อเหวี่ยงทั้ง 2 ข้าง ปัญหานี้ในบางครั้งอาจเกิดจากการใช้เลื่อยยนต์ที่มีคาร์บูเรเตอร์ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งสำหรับเลื่อยยนต์พัมคินที่ใช้คาร์บูเรเตอร์เกรดคุณภาพ จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่พบปัญหานี้ขณะใช้งาน

 ปัญหาน้ำมันท่วมหัวเทียน

สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้โดยหากน้ำมันท่วมในระดับปกติ ให้ถอดหัวเทียนออกมาเช็ดให้แห้ง จากนั้นดึงเชือกสตาร์ทประมาณ 20-30 ครั้ง เพื่อให้ไอน้ำมันเก่าออกจากเสื้อสูบ แล้วจึงใส่หัวเทียนเข้าไปใหม่ สตาร์ทอีกที อย่าลืมเปิดสวิทซ์โดยไม่ต้องเปิดโช้ค แต่ถ้าหากมีน้ำมันท่วมชนิดรุนแรงเข้าห้องเครื่องเยอะ ให้เปิดกรองอากาศ ถอดหัวเทียนออก จากนั้นถอดท่อไอเสียออก อัดลมเข้าเสื้อสูบ (รูหัวเทียน) พร้อมดึงเชือกประมาณ 20 ครั้ง แล้วจึงเอาท่อไอเสียไปตากแดดไว้ ให้น้ำมันแห้ง เมื่อแห้งจึงใส่หัวเทียนลงไป สตาร์ทเครื่องโดยที่ไม่ต้องใส่ท่อไอเสีย แล้วทิ้งไว้สักครู่จึงประกอบเข้าไปใหม่

โซ่ตึงหรือหย่อนมากเกินไป

ถ้าหากว่าโซ่ตึงหรือหย่อนเกินไปก็จะเกิดอันตรายได้ขณะใช้งานเพราะเลื่อยนั้นมีรอบหมุนด้วยความเร็วสูง หากโซ่หย่อนมากเกินไปอาจหลุดออกมาขณะหมุนก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้งาน จึงจำเป็นต้องตั้งโซ่ให้มีความหย่อนพอดี ไม่ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไป

การตรวจเช็คกรองอากาศเลื่อยยนต์

ต้องตรวจเช็คดูนะครับว่ากรองอากาศของเราเนี่ยมีฝุ่นเยอะเกินไปหรือไม่ หากใช้งานจนกระทั่งตัวกรองอากาศเปลี่ยนสีแล้วให้ทำการหมุนเกลียวเพื่อเปิดฝาตัวกรองออกมาแล้วจึงนำไปเคาะหรือเป่าเอาฝุ่นละอองที่ติดกับตัวกรองออก หรือในบางครั้งตัวกรองก็อาจจะเกิดความเสียหายได้ เราจึงควรมีตัวกรองอากาศเลื่อยยนต์ติดบ้านไว้สำรอง

ระวังการกระแทกขณะใช้งาน

การกระแทกของเครื่องเลื่อยยนต์อาจเกิดขึ้นได้หากใช้งานไม่ระมัดระวังหรือผู้ใช้งานมือใหม่ที่อาจยังใช้งานไม่ชำนาญ พัมคินจึงได้ออกแบบมือจับตามหลักสรีรศาสตร์ ให้สามารถจับได้กระชับมือ ไม่ลื่นหลุดได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้งานก็ควรเพิ่มความระมัดระวังจับเลื่อยยนต์ให้แน่นด้วยมือทั้งสองข้าง ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อตัดกิ่งไม้ และวัสดุอื่น ๆ ที่มีน้ำหนักเบา ถือเลื่อยยนต์ ด้วยมือทั้งสองข้างโดยให้มันชิดลำตัวเสมอ อย่าปรับเลื่อยยนต์ หรือเปลี่ยนตำแหน่งของคุณในขณะที่เครื่องยนต์ยังทำงานอยู่ หากคุณต้องการหยุดชั่วคราว และดำเนินการต่อในภายหลังให้ดับเครื่องยนต์ และสตาร์ทเครื่องอุ่นเครื่องเมื่อคุณพร้อมที่จะดำเนินการต่อ

การดูแลรักษาเลื่อยยนต์ให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

การดูแลเลื่อยยนต์อย่างถูกวิธีจะช่วยยืดอายุการใช้งาน และทำให้ใช้งานได้ง่ายและปลอดภัยมากขึ้น โดยมีข้อควรปฎิบัติดังนี้ 

  • หลังจากใช้งานแล้วควรทำความสะอาดใบเลื่อยทุกครั้งด้วยการปัดด้วยแปรงให้เศษขี้เลื่อยหลุดออกจากฟันเลื่อย ก่อนที่จะทาด้วยน้ำมันป้องกันสนิม

  • ทาน้ำมันกันสนิมที่ใบเลื่อยและใช้ตะไบตกแต่งฟันเลื่อยให้คมอยู่เสมอ และควรเลือกใช้ตะไบที่มีขนาดเล็กที่พอดีกับฟันเลื่อย

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากลไกที่สำคัญทั้งหมด (ตัวกรองอากาศ, เบรก, โซ่) ปราศจากขี้เลื่อย

  • เมื่อไม่ใช้เครื่องเกิน 5 วัน ให้ถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงออกจากถัง และสตาร์ทเครื่องจนดับ

เลื่อยยนต์เป็นไอเทมที่มีประสิทธิภาพสูงในการตัดไม้ โดยเฉพาะต้นไม้ขนาดใหญ่ หรือไม้เนื้อแข็งที่ต้องใช้กำลังของเครื่องในการตัดสูง แต่ในขณะเดียวกันเลื่อยยนต์นั้นก็เป็นเครื่องมือที่ต้องการการบำรุงรักษาเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน หากเราเลือกใช้เลื่อยยนต์ที่มีส่วนประกอบที่มีคุณภาพ รู้หลักการในการบำรุงรักษา ก็จะช่วยให้เลื่อยยนต์ยิ่งมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน รวมถึงควรใช้งานเลื่อยยนต์อย่างระมัดระวัง สวมอุปกรณ์ป้องกันและแต่งกายรัดกุม ก็จะช่วยให้ใช้งานเลื่อยยนต์ได้อย่างปลอดภัย


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies)
Pumpkin ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

บริษัท พัมคิน คอร์ปอเรชัน จำกัด (“บริษัท”) เก็บข้อมูลของท่านเพื่อใช้ในการสั่งซื้อสินค้และรับประกันสินค้า และขอความยินยอมในการนำข้อมูลไปใช้ทางการตลาด โดยท่านสามารถดูรายละเอียดข้อมูลที่เก็บ ระยะเวลาการเก็บ การใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรืออื่นๆ และข้อมูลการติดต่อได้ที่รายละเอียด (กดดูรายละเอียด)

0
No products in the cart.