ตลับเมตร (Tape Measures) มีต้นกำเนิดในปี 1829 เมื่อ เจมส์ เชสเตอร์แมน ได้จดสิทธิบัตรตลับเมตรที่ทำจากเหล็กและลวดเหลือใช้ นับเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์การในการวัดซึ่งมีน้ำหนักเบาที่สุดในขณะนั้น ต่อมาในปี 1868 ตลับเมตรได้รับการปรับเปลี่ยนให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยใช้การทำงานของสปริงที่ทำให้ตลับเมตรสามารถดึงกลับเมื่อกดปุ่ม นับจากนั้นตลับเมตรก็ถูกพัฒนามาจนมีฟังก์ชั่นมากมายในปัจจุบัน
เนื่องจากตลับเมตรเป็นเครื่องมือวัดที่ใช้หลักการอันเรียบง่าย คือการกำหนดระยะลงบนสายเทป แล้วดึงสายออกมาเพื่อวัดระยะตามที่ต้องการ มีข้อดีคือมีสายที่สามารถโค้งงอได้ วัดระยะในสถานที่ได้หลากหลาย ไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า และที่สำคัญคือมีขนาดเล็ก พกพาง่าย ตลับเมตรจึงกลายเป็นเครื่องมือสามัญประจำช่างที่ขาดไม่ได้ และควรมีติดบ้านไว้ใช้งาน
บทความนี้พัมคินจะมาบอกหมดเปลือกถึงวิธีการเลือกตลับเมตรที่คุณต้องรู้ก่อนซื้อ เมื่ออ่านจบแล้วรับรองว่าคุณจะเลือกตลับเมตรได้เหมาะกับการใช้งานแน่นอน
ปัจจัยที่ควรคำนึงถึงเมื่อเลือกตลับเมตร
มาตรวัดบนตลับเมตร
ตลับเมตร จะมีหน่วยหรือมาตรวัดในการอ่าน 2 แบบด้วยกัน คือ เมตริก (Metric scale) ได้แก่ เมตร เซนติเมน มิลลิเมตร และ Imperial scale คือหน่วยนิ้วนั่นเอง
ในแต่ละประเทศจะใช้หน่วยวัดไม่เหมือนกัน เช่น อังกฤษ หรือ สหราชอาณาจักรและยุโรปส่วนมาก จะใช้ระบบการวัดแบบเมตริก ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่น อเมริกา หรือ อิตาลี จะใช้หน่วยวัดเป็นนิ้ว ส่วนประเทศไทยเราเป็นประเภทที่ต้องมีทุกอย่างครบครัน ตลับเมตรของไทยจึงมีมาตรวัดทั้งสองแบบ จึงสะดวกต่อการใช้งานและการอ่านค่า
นอกจากนี้ยังมีมาตรวัดพิเศษอย่าง Architec scale สเกลสําหรับเทียบโครงสร้าง ขนาด 1:20 และ 1:50 สําหรับใช้กับแบบพิมพ์เขียว ซึ่งตลับเมตรรุ่นหน้ากว้างพิเศษ POWER MAG ก็มีสเกลนี้เช่นกัน
เครื่องหมายอื่น ๆ บนตลับเมตร
EC II หรือที่เราจะเห็นสัญลักษณ์บนตลับเมตรเป็นเลขโรมัน (I,II,III) เป็นค่ามาตรฐานที่บ่งบอกว่าตลับเมตรนั้นมีค่าความคลาดเคลื่อนไปจากค่ามาตรฐานมากน้อยเพียงใด โดยแบ่งความคลาดเคลื่อนเป็นระดับดังนี้
ค่าความแม่นยำมากที่สุด (I) ไปน้อยที่สุด (III) โดยตลับเมตร ทั่วไปในท้องตลาดจะมีความแม่นยำอยู่ที่ระดับ II
ตัวเลขสีแดงทุกระยะ 10 เซนติเมตร และทุกเมตร
สายเทปของตลับเมตรหน่วยเมตริกจะมีเครื่องหมายสีแดง หรือตัวเลขสีแดงอยู่ทุกระยะ 10 เซนติเมตร ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของตลับเมตรในระบบเมตริกนั่นเอง ส่วนมาตรฐานของเทปตลับเมตรฝั่ง Imperial จะถูกตรวจสอบโดยหน่วยงาน NIST เป็นหน่วยงานอันมีระบบที่เป็นมาตรฐานอีกหน่วยงานหนึ่ง
ข้อความ “ใช้วัดซื้อขายเฉพาะมาตราเมตริกเท่านั้น” บนสายเทป
ที่มาของข้อความนี้บนสายเทปของตลับเมตร เนื่องจากประเทศไทยได้รับเอาหน่วยวัดแบบเมตริกมาเป็นมาตรฐานในการวัดเพื่อซื้อขาย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2455 ดังนั้นจึงอนุญาตให้ซื้อขายเฉพาะหน่วยเมตริกเท่านั้น สำหรับหน่วยวัดแบบไทย ๆ อย่าง ไร่ วา งาน ที่เรามักเห็นในประกาศซื้อขายที่ดินนั้น เมื่อมีการซื้อขายที่ดินต้องเทียบวัดเป็นระบบเมตริก
กำหนดคุณสมบัติของตลับเมตรให้เหมาะกับความต้องการ
สายเทปคือส่วนสำคัญ
พิจารณาว่างานของคุณมีลักษณะการใช้งานแบบใด หากต้องการวัดโดยใช้สายยืดยาวออกไปเพื่อวัดเป็นระยะทางหลายเมตร สายเทปนั้นต้องมีความหนาและความกว้างที่เหมาะสม แต่ความหนาที่มากกว่ายิ่งทำให้ตลับเมตรมีขนาดใหญ่โตมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น พัมคินจึงมีเทคโนโลยีในการผลิตตลับเมตรให้สามารถบรรจุสายเทปที่มีความยางและความหนามากยิ่งขึ้น โดยยังคงขนาดที่เล็ก (เมื่อเทียบกับตลับเมตรรุ่นอื่น) นั่นคือตลับเมตรในซีรีส์ของ ANTZ-MAN นั่นเอง
นอกจากนั้นแล้ว ความคมชัดของเครื่องหมายบอกความยาวบนสายเทปก็สำคัญ เมื่อใช้งานไปนาน ๆ มาตรวัดบนสายเทปอาจลบเลือน ตลับเมตรของพัมคินจึงมีรุ่นที่ปกป้องสายเทปด้วยไนลอน ซึ่งมีทั้งแบบ “เคลือบไนลอน หรือ Nylon Coat” และแบบหุ้มไนลอนรอบด้าน หรือ Nylon Wrap ” ซึ่งการเคลือบและการหุ้มไนลอนนี้ จะทำให้สายตลับเมตรไม่ลบเลือนได้ง่าย ยืดอายุการใช้งานให้สายเทปนี้สามารถใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ ยาวนานกว่าเดิม
นอกจากนั้นยังมีสายเทปที่พิมพ์มาตรวัดทั้งสองด้าน ทำให้การอ่านค่าทำได้สะดวกทั้งสองด้าน ซึ่งพัมคินก็มีจำหน่ายเช่นเดียวกัน
ทำงานง่ายด้วยตะขอแม่เหล็ก
ตะขอแม่เหล็ก (MAGNETIC HOOK) ตะขอเป็นส่วนที่ถูกติดตั้งไว้บริเวณปลายเทปวัด ใช้สำหรับเกี่ยวหรือเกาะกับปลายวัตถุที่ต้องการใช้วัดระยะ ซึ่งตลับเมตรพัมคินรุ่นตะขอติดแม่เหล็ก ไปจนถึงแม่เหล็กคู่ จะช่วยให้สามารถทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยยืดสายเทปออกไปแล้วใช้ปลายตะขอแม่เหล็กเกาะติดกับวัตถุที่เป็นโลหะ ก็สามารถวัดระยะได้ด้วยมือเดียว ตัวอย่างเช่น ตลับเมตรพัมคิน รุ่น ANTZ-MAN MAG HOOK
ตรวจสอบความยาวสายเทป
อีกข้อหนึ่งที่ควรพิจารณาคือความยาวที่เราต้องใช้งาน หากสถานที่ซึ่งคุณต้องใช้วัดเป็นประจำมีความกว้างหรือความยาวที่มาก ก็ควรเลือกตลับเมตรที่มีสายยาวเพียงพอ ซึ่งตลับเมตรของทางพัมคิน มีความยาวสายเทปให้เลือกตั้งแต่ 3 เมตร , 5 เมตร , 8 เมตร
กลไกการล็อกตลับเมตรสำคัญต่อการใช้งาน
มองหาเทปวัดที่มีกลไกการล็อคที่ใช้งานง่ายและยึดเทปให้เข้าที่อย่างแน่นหนา ตัวอย่างเช่น ตลับเมตรหน้ากว้างพิเศษ POWER MAG มีระบบล็อค 2 ตําแหน่ง Double lock แบบล็อคถาวร และตําแหน่งล็อคชั่วคราวด้านล่าง สะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น และลดการหักงอของสายเทปอีกด้วย
วัสดุที่ใช้ผลิตตลับเมตรมีผลด้านความสวยงามและความทนทาน
ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่ใช้ผลิตสายเทป ตัวเรือนตลับเมตร รวมถึงวัสดุที่ใช้หุ้มตัวตลับเมตร ทำให้ตลับเมตรมีคุณภาพและความทนทานแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ผลิต ซึ่งทำให้ราคาของตลับเมตรแต่ละรุ่นมีความแตกต่างกันไปด้วย สำหรับช่างมืออาชีพ การเลือกตลับเมตรที่ทำจากวัสดุที่ให้ความแข็งแรงคงทน รวมถึงมียางหุ้มตลับเมตร ก็จะทำให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเก็บไว้ใช้งานได้อย่างยาวนาน
กำหนดงบประมาณ
การเลือกซื้อตลับเมตรที่มีราคาถูกมากเกินไปอาจทำให้ได้รับตลับเมตรที่ฟังก์ชั่นไม่ตอบสนองด้านคุณภาพและการใช้งาน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าควรซื้อตลับเมตรที่มีราคาแพงเกินความจำเป็น ควรเลือกซื้อจากฟังก์ชั่นที่จำเป็นต่อการใช้งาน คำนึงถึงความสม่ำเสมอในการใช้ว่าบ่อยแค่ไหน รวทถึงวัสดุและน้ำหนักของตลับเมตรที่เหมาะกับผู้ใช้งาน เปรียบเทียบกับราคาของตลับเมตร ก็จะทำให้ได้ตลับเมตรที่คุ้มค่า คุ้มราคา และเหมาะกับการใช้งานของคุณ
วิธีดูแลรักษาตลับเมตรเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน
เมื่อใช้งานตลับเมตรเสร็จแล้วควรเช็ดทำความสะอาดให้แห้งทุกครั้งเพื่อป้องกันความชื้นทำให้ตลับเมตรขึ้นสนิม โดยเฉพาะตลับเมตรที่มีตัวเรือนทำจากโลหะ อาจชโลมน้ำมันได้เล็กน้อยเพื่อป้องกันสนิมและยืดอายุการใช้งาน
หลีกเลี่ยงการใช้งานผิดวิธี ไม่ควรนำตลับเมตรไปทุบหรือตอกแทนตะปู เพราะอาจทำให้ตลับเมตรเกิดความคลาดเคลื่อนในการวัดได้
ระมัดระวังไม่ให้สายเทปขูดกับของมีคม หากต้องใช้วัดในพื้นที่ขรุขระเป็นประจำ ควรใช้ตลับเมตรที่มีสายเทปหุ้มไนลอน เพื่อป้องกันสายเทปเป็นรอย มาตรวัดบนสายเทปลบเลือน
จัดเก็บตลับเมตรในที่แห้ง ห่างไกลจากความร้อนสูง เพราะความร้อนอาจทำให้ตลับเมตรเสื่อมคุณภาพก่อนเวลาอันควร