การเชื่อมเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะและประสบการณ์ที่จะรังสรรค์ชิ้นงานออกมาให้สวยงาม มีความแข็งแรงทนทาน การเลือกตู้เชื่อมที่ดีเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้งานเชื่อมของคุณออกมาเนียนสวย ไม่แพ้ช่างเชื่อมมืออาชีพ วันนี้พัมคินจะมาแนะนำ 4 ฟังก์ชั่น ช่วย ช่าง เชื่อม ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นเสริมในตู้เชื่อมรุ่น Xtreme , Scorpion Weld และตู้เชื่อม Home ในรุ่น HOME 140A PLUS อีกด้วย

หน้าที่ของฟังก์ชัน Hot Start นั้นจะเป็นการเพิ่มกระแสเมื่อเริ่มต้นเชื่อม โดยจะช่วยให้จรดปลายลวดเชื่อมลงบนชิ้นงานเพื่อเริ่มต้นเชื่อมได้อย่างง่ายดายมากขึ้น จากนั้นกระแสเชื่อมจะกลับมาคงที่ตามที่ตั้งไว้หน้าเครื่อง ฟังก์ชัน Hot Start จึงเป็นฟังก์ชันที่จะมีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นการเชื่อม จากนั้นจึงส่งไม้ต่อให้กับฟังก์ชัน Arc Force
Hot Start ทำให้เริ่มเชื่อมชิ้นงานได้ง่ายขึ้น แต่ควรระมัดระวังในการใช้เชื่อมเหล็กบาง เพราะกระแสไฟสูงเมื่อเริ่มเชื่อมอาจทำให้ชิ้นงานทะลุได้

สำหรับฟังก์ชัน Arc Force นั้น จะทำการเพิ่ม (หรือลด) กระแสเชื่อมอย่างรวดเร็วเมื่อระยะในการเชื่อมหรือปลายลวดอยู่ในตำแหน่งอันไม่คงที่ เช่น ห่างหรือเข้าใกล้ชิ้นงานมากเกินไป ฟังก์ชัน Arc Force จะสร้างสมดุลของกระแสอุณหภูมิเพื่อให้เหมาะกับสภาวะหลอมละลายของลวดเชื่อม ป้องกันการติดชิ้นงานของลวดเชื่อมได้อีกด้วย
Arc Force จะช่วยรักษาเสถียรภาพให้การเชื่อม ทำให้การเชื่อมไม่ดับง่าย จะมีผลกับการใช้ลวดแข็ง ทำให้เชื่อมได้ซึมลึกมากกว่าเดิม

ช่างเชื่อมหลายคนอาจเคยเจอกับสถานการณ์ไฟดูดระหว่างเปลี่ยนลวดเชื่อม ซึ่งในการเชื่อมแล้วใช้มือเปล่าจับนั้น อาจจะรู้สึกว่าถูกไฟดูดได้ ซึ่งอาจรู้สึกมากหรือน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคนและสถานการณ์ โดยปัจจัย 3 ข้อที่มีผลต่อการดูด/ ไม่ดูด ของตู้เชื่อม MMA นั้น ได้แก่
ค่า OCV (Open Circuit Voltage) ค่าที่กระแสแรงดันมาจ่อตรงขั้วบวกและขั้วลบของหน้าตู้ และพร้อมจะทำงานเวลาที่เราเปิดเครื่อง (ภาวะแรงดันไร้โหลด) เป็นแรงดันที่พร้อมจะทำงาน ค่า OCV สูงจะทำให้การเชื่อมทำได้ง่าย แต่ก็อาจเกิดอันตรายต่อผู้ทำงานเชื่อมได้เช่นกัน
กระแส AC หรือกระแส DC กระแสเชื่อมที่สูงกว่าอาจจะผลต่อการดูดได้มากกว่า
ฉนวนหรือแรงต้านทานในตัวผู้เชื่อม เมื่อร่างกายเปียกชื้น จะมีค่าความต้านทานกระแสไฟฟ้าลดลง
ซึ่ง 3 ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ มีผลต่อการถูกไฟดูดระหว่างเปลี่ยนลวดเชื่อม ซึ่งอาจมีการดูดแบบรู้สึกมาก รู้สึกน้อย ไม่อันตราย หรือเข้าขั้นอันตรายการจะแตกต่างกันไปตามปัจจัยทั้ง 3 ข้อ
ฟังก์ชัน VRD จะเข้ามาแก้ปัญหาไฟดูดระหว่างเปลี่ยนลวดเชื่อมเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งจะทำงานโดยลดแรงดัน OCV อยู่ในช่วง 9-20V ซึ่งจะทำให้ลดความรู้สึกของการถูกดูด และลดอันตรายในการทำงานลงนั่นเอง

ฟังก์ชัน Anti-Stick Protection จะช่วยลดกระแสเชื่อมลงเมื่อลวดเชื่อมติดชิ้นงาน ป้องกันการเกิดอาร์ครุนแรงที่คีมเชื่อม นอกจากจะช่วยไม่ให้ลวดเชื่อมติดชิ้นงานแล้วยังช่วยลดความเสียหายของคีมเชื่อมได้อีกด้วย
Anti-Stick Protection ระบบป้องกันไม่ให้ลวดติดชิ้นงานขณะเชื่อม นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการติดชิ้นงานในตอนเริ่มเชื่อมซึ่งทำให้เกิดกระแสไฟลัดวงจรได้
ทั้ง 4 ฟังก์ชัน ที่กล่าวมา สามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเชื่อมและยังไม่มีความคล่องแคล่วในการเชื่อมมากนัก หรือผู้ทำงาน DIY นาน ๆ จะเชื่อมสักที ส่วนช่างเชื่อมมืออาชีพจะเปิดใช้งานฟังก์ชันเหล่านี้เพื่อให้ง่ายต่อการทำงานก็สามารถทำได้เช่นกัน

เทคนิคเชื่อมงานบางให้สวยไม่แพ้มืออาชีพ
“เหล็กบาง” เป็นอีกหนึ่งงานยากสำหรับช่างเชื่อมมือใหม่ เพราะใช้กระแสเชื่อมมากเกินไปก็เชื่อมทะลุ ปรับกระแสลงน้อยเกินไปลวดเชื่อมก็ไม่ละลาย แถมยังเชื่อมให้งานออกมาเนี๊ยบสวยยากอีกด้วย พัมคิน มี 3 เทคนิคสำคัญสำหรับการเชื่อมเหล็กบางจากอาจารย์งานเชื่อมมือฉมังของเมืองไทย “ครูโจคนเหล็ก” มาฝากกัน
3 ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเชื่อมเหล็กบาง
1. กระแสเชื่อม
เหตุผลสำคัญที่ทำให้การเชื่อมเหล็กบางและทะลุ เกิดจากการกระแสเชื่อมมากเกินไป และหากตั้งกระแสเชื่อมต่ำเกินไปลวดก็ติด เชื่อมไม่ละลาย ซึ่งกระแสเชื่อมก็ต้องมีความเหมาะสมของขนาดของลวดเชื่อม ซึ่งการเลือกเครื่องเชื่อมที่แอมป์ตรง แอมป์เต็มนั้นก็มีความสำคัญต่อการปรับกระแสเชื่อมให้ตรงตามความต้องการ
2. ลวดเชื่อม
เทคนิคสำคัญในการเชื่อมเหล็กบาง คือการลดขนาดลวดเล็กลงเพื่อให้เหมาะกับกระแสเชื่อมที่ใช้ การใช้ลวดเชื่อมเล็กลงก็จะสามารถใช้กระแสเชื่อมน้อยลงสำหรับการเชื่อมเหล็กบาง
3. องศาท่าเชื่อม / การวางลวด
หากต้องการงานเชื่อมให้ได้การซึมลึกที่ดีนั้น ตามทฤษฎีต้องตั้งลวดเชื่อมเป็นองศาใกล้เคียงกับมุมฉาก ในทางกลับกัน ถ้าเราต้องเชื่อมงานบาง การนอนลวดมากขึ้นจะลดการซึมลึก ลดการทะลุได้
สำหรับเทคนิคงานเชื่อมโดยละเอียด สามารถรับชมได้จากคลิปบรรยายของครูโจ คนเหล็ก ที่ได้ บรรยายไว้ในงาน Pumpkin Weldind เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 65
เรียนรู้เรื่องฟังก์ชันต่าง ๆ กันไปแล้ว ลองมาส่องฟังก์ชันของเครื่องเชื่อม MMA จากพัมคินที่นอกจากจะมีฟังก์ชันเหล่านี้ ยังจัดเต็มประสิทธิภาพการทำงานเชื่อม ให้คุณเชื่อมได้สวย เชื่อมง่าย เชื่อมไว ทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ

เครื่องเชื่อม SCORPION เชื่อมแรง แซงทุกแอมป์ เชื่อมดี ไม่มีสะดุด ท้าพิสูจน์ความคุ้มค่าด้วยฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
โดดเด่นด้วยขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่ายหน้าจอแสดงผลแบบดิจิทัล ดูค่ากระแสไฟระหว่างทำงานได้ง่ายดายแม่นยำ เทคโนโลยี IGBT กระแสไฟคงที่ ออกเต็ม ไม่มีสะดุด อายุการใช้งานนานหายห่วง จนพัมคินกล้ารับประกันอายุการใช้งาน 2 ปี มีโหมดป้องกันไฟหาย เนื่องจากความร้อน ไฟตก หรือไฟเกิน ผ่านการทดสอบเข้มข้น หนักหน่วง ใช้สายเชื่อมยาว 100 เมตรได้ ไฟไม่ตก ให้แอมป์เต็มทุกรุ่น พร้อมระบบ Hot Start , Arc Force, VRD และ Anti-Stick Protection

เครื่องเชื่อม XTREME ตู้เชื่อมแห่งอนาคต ตู้เชื่อมอัจฉริยะ “ฉลาด ทนทาน ชัวร์ทุกงานเชื่อม”
พอกันทีกับสารพัดปัญหางานเชื่อม
เชื่อมทะลุ
เชื่อมติด
เชื่อมแล้วไม่ต่อเนื่อง
ไม่รู้จะปรับไฟเท่าไหร่
เชื่อมไม่สวย
เครื่องเชื่อม Xtreme จะเข้ามาช่วยแก้ทุกปัญหางานเชื่อมของคุณ
ง่ายขึ้น : ให้คุณเชื่อมได้ง่ายดายยิ่งขึ้น เพียงเลือกขนาดลวดที่ใช้ หรือเลือกความหนาของชิ้นงาน
ช่วยคิดคำนวณ : ระบบสมองกล AI คำนวณกระแสไฟอัตโนมัติ ป้องกันชิ้นงานทะลุ หรือไฟละลายลวดไม่ทัน
พลังดี สะดวกสบายทุกการใช้งาน: ท้าพิสูจน์ กระแสไฟออกเต็ม ตัวเครื่องระบายความร้อนได้ดี เชื่อมต่อเนื่องได้นาน ใช้กับสายเชื่อมได้ยาวถึง 100 เมตร กันกระแทกรอบเครื่อง สายไฟยาว 6 เมตร คล่องตัวในทุกการใช้งาน
พร้อมฟังก์ชันครบครัน
Hot Start เพิ่มกระแส เริ่มต้นเชื่อมได้อย่างรวดเร็ว
ARC FORCE ช่วยหลอมละลาย เชื่อมต่อเนื่อง ลากยาวได้ไม่มีสะดุด
ANTI STICK ป้องกันลวดเชื่อมติดชิ้นงาน
VRD ป้องกันไฟดูดขณะเปลี่ยนลวดเชื่อม
