MIG ย่อมาจาก Manual Inert Gas แปลตรงตัวก็คือ การเชื่อมโลหะโดยใช้แก๊สเฉื่อยเป็นตัวปกคลุม การเชื่อมโลหะกลุ่มเหล็กผู้ใช้ส่วนมากนิยมใช้แก๊ส CO2 เป็นแก๊สปกคลุม เนื่องจากหาง่าย ราคาถูก และให้ลักษณะการอาร์คที่ดีพอสมควร ปัจจุบันมีผู้ใช้ก็หันมาใช้แก๊สผสมระหว่าง Argon และ CO2 กันมากขึ้น เพื่อต้องการเพิ่มความเสถียรของอาร์ค ได้ลักษณะแนวเชื่อมที่สวย และมีสะเก็ดน้อย
หลายท่านอาจจะเข้าใจว่ามีความยุ่งยากในการเชื่อม MIG แต่เมื่อเชื่อมเป็นแล้วบอกได้เลยค่ะว่างานของเราที่เชื่อมด้วย MIG นั้น ง่าย เสร็จไว และให้ชิ้นงานที่สวยงามมากกว่าเดิมแน่นอน อุปกรณ์ควบในการเชื่อมของ MIG นั้น จะมากกว่าการเชื่อม MMA แต่เหมาะกับงานเหล็ก สเตนเลส และอะลูมิเนียมมากกว่า สามารถใช้ทั้งในโรงงานและงาน DIY หรืองานตามบ้าน เรามาลองเทียบข้อดี-ข้อเสียของการเชื่อมระบบ MIG กันค่ะ สำหรับท่านที่กำลังตัดสินใจเลือกตู้เชื่อมแต่ยังชั่งใจว่า MIG จะเหมาะกับตนเองไหม
- เมื่อเข้าใจระบบแล้ว ถือว่าเป็นระบบที่เชื่อมง่าย
- เชื่อมเร็ว ปริมาณงานที่เยอะขึ้นในเวลาเท่ากัน
- รอยเชื่อมเนียนสวย เป็นเงาวาว ไม่มีสแลค
- มีความสิ้นเปลืองมากกว่า MMA เพราะอุปกรณ์ควบในการเชื่อมมีมากกว่า และใช้ระบบแก๊ส
- ความไม่เข้าใจเรื่องแก๊ส ซึ่งเป็นข้อกังวลของผู้ที่ใช้
- ความยากในการหาแก๊สในแต่ละพื้นที่
ซึ่งเมื่อเทียบข้อดี-ข้อเสียแล้ว ก็ยังถือว่าเครื่องเชื่อมระบบ MIG นั้น เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับงานที่ไวและสวยเนียนกว่านั่นเองค่ะ
- ให้คุณภาพต่อแนวเชื่อมสูงในการเชื่อมโลหะและโลหะผสมเกือบทุกชนิด
- ให้รอยเชื่อมที่สวย สะอาด ไม่มีสแลก
- การอาร์กและแอ่งหลอมละลายที่แนวเชื่อมสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
- การเชื่อมอาจทำได้ในทุกท่าเชื่อมซึ่งแล้วแต่ขนาดของลวดเชื่อมที่ใช้และวิธีการ (Variation)
- เชื่อมไว ให้ปริมาณงานที่มากกว่าการเชื่อม MMA ในเวลาที่เท่ากัน
- การเชื่อมทั้ง MIG และ MAG ต่างก็ใช้เครื่องเชื่อมเดียวกันคือเครื่องเชื่อม MIG เรียกรวม ๆ ว่า GMAW (GAS METAL ARC WELDING) คือการเชื่อมโลหะโดยใช้แก๊สปกคลุม ความแตกต่างคือประเภทของแก๊สที่ใช้ในการเชื่อม
- การเชื่อม MIG ย่อมากจาก METAL INERT GAS การเชื่อมโลหะโดยใช้แก๊สเฉื่อย คือแก๊สที่ทำกิริยาช้าเป็นตัวปกคลุม โดยแก๊สเฉื่อยที่นิยมใช้กันคืออาร์กอน หรืออากอนผสมฮีเลียม เหมาะสำหรับการเชื่อมอะลูมิเนียม
- การเชื่อม MAG ย่อมาจาก METAL ACTIVE GAS การเชื่อมโดยใช้แก๊สแอคทีฟ คือแก๊สที่ทำปฏิกิริยาไวเป็นตัวปกคลุม แก๊สแอคทีฟที่นิยมใช้ได้แก้ O2 เหมาะสำหรับการเชื่อมเหล็กทั่วไป, อาร์กอนผสม CO2 เหมาะสำหรับการเชื่อมสเตนเลส
- Flux Core เป็นอีกหนึ่งกระบวนการเชื่อมนอกจาก MMA / MIG / TIG มีชื่อเต็ม ๆ ก็คือ Flux Core Arc Welding (FCAW) หรือเรียกกันว่า เชื่อมลวดไส้ฟลั๊กซ์, การเชื่อมฟลั๊กซ์คอร์, F แล้วเชื่อมฟลั๊กซ์ใช้เครื่องอะไร ??? คำตอบก็คือเครื่อง MIG/MAG นั่นเอง ดังนั้นเมื่อเราซื้อเครื่องเชื่อม MIG ก็สามารถเชื่อมฟลั๊กซ์คอร์ได้แล้ว เพียงแต่เปลี่ยนชนิดของลวดเท่านั้นเอง
- การเชื่อมฟลั๊กซ์คอร์เป็นการรวมข้อดีของการเชื่อม MMA กับ MIG เข้ามาไว้ด้วยกัน ข้อดีของ MMA ก็คือเป็นระบบที่เกิดขึ้นมานาน สามารถใส่คุณสมบัติบางอย่างเข้าไป สามารถปรับปรุงคุณภาพของงานเชื่อมได้ดีขึ้นซึ่งสามารถใส่เข้าไปในตัวลวดฟลี๊กซ์ได้นั่นเอง เช่น การดึงสารมวลดินออกจากแนวเชื่อม หรือป้องกันการแตกร้าว ซึ่งอยู่ที่สูตรของลวดฟลี๊กซ์แต่ละเจ้านั่นเอง
- ส่วนคุณสมบัติข้อเด่นของ MIG ก็คือการเชื่อมง่าย เชื่อมเร็ว เมื่อรวมเอาข้อดีของทั้ง MMA และ MIG เข้าไว้ด้วยกันเลยเหมาะกับงานที่ต้องการคุณภาพค่อนข้างสูง หรือการใช้งานต่อเนื่องทั้งวัน สามารถเชื่อมได้ทั้งเหล็กและสเตนเหล็ก ฟลั๊กซ์คอร์นั้นมีทั้งแบบใช้แก๊ส และไม่ใช้แก๊ส ซึ่งแบบใช้แก๊สนั้นจะมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นนั่นเองค่ะ
- ทีนี้เรามาพูดถึงความยากของการเชื่อมฟลั๊กซ์คอร์กันค่ะ อันดับแรกคือการเข้าใจกระบวนการปรับตั้ง ปรับโวลต์ ปรับสปีด แล้วก็ยังมีปัญหาจุกจิกต่าง ๆ เช่น อะไหล่สิ้นเปลือง และไม่เหมาะกับงานบาง โดยสรุปแล้วการเชื่อมฟลั๊กซ์คอร์ก็ยังเป็นการเชื่อมที่ง่ายกว่า MMA และ TIG เหมาะกับงานที่ต้องการความเร็ว คุณภาพ การแข็งแรง สำหรับผู้ที่ทำงาน DIY ควรใช้เหล็กหนาที่ 2.0 มม. ขึ้นไปเพราะการเชื่อมฟลั๊กซ์คอร์มีการซึมลึกที่สูงนั่นเองค่ะ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับลวดเชื่อม MIG และ Flux Core กันค่ะ
- ลวดเชื่อม MIG : ปกติแล้วลวดแข็งที่เป็นเหล็กอ่อนมักจะชุบด้วยทองแดงเพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นช่วยในการนำไฟฟ้า และช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของปลายหน้าสัมผัสในการเชื่อม ก๊าซป้องกันช่วยปกป้องสระเชื่อมหลอมเหลวจากสิ่งปนเปื้อนที่มีอยู่ในบรรยากาศ
- ลวดเชื่อม FLUX CORE : สายไฟฟลักซ์คอร์มีสองประเภทป้องกันแก๊สและป้องกันตัวเอง สายไฟฟลักซ์คอร์ที่หุ้มด้วยแก๊สต้องใช้แก๊สป้องกันภายนอก และตะกรันสามารถถอดออกได้ง่าย พิจารณาใช้ลวดฟลักซ์คอร์ที่ป้องกันแก๊สเมื่อเชื่อมโลหะที่หนาขึ้น หรือในการใช้งานที่ไม่อยู่ในตำแหน่ง
- งานที่เราต้องเชื่อมเป็นโลหะประเภทใด
- สถานที่ที่เราทำงานเชื่อมเป็นแบบใด มีลมแรงหรือไม่
- ความหนาของประเภทงาน การพยายามใช้ลวดแข็งขนาดเล็กเกินไปสำหรับการใช้งานที่หนาขึ้น จะเพิ่มโอกาสในการเจาะรูที่ต่ำลง และอาจต้องใช้การเชื่อมมากกว่าหนึ่งครั้ง การนำลวดแช็งไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง (แม้ว่าจะมีความแข็งแรงเพียงพอ) ก็อาจทำให้วัสดุที่หนาขึ้นไม่เพียงพอ
ลวดแข็ง กับลวดฟลักซ์คอร์ มีความแตกต่างกันหรือไม่ :
ลวดทั้งสองแบบมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน อยู่ที่การเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทงานของเรานั้ยเอง ลวดทึบลวดฟลักซ์คอร์ที่มีฉนวนป้องกันตัวเองและลวดฟลักซ์คอร์ที่ป้องกันแก๊สทั้งหมดทำงานได้ดีหากนำไปใช้อย่างถูกต้อง
กระบวนการเชื่อม TIG หรือ Tungsten Inert Gas Welding เป็นการเชื่อมโดยใช้วิธี Lift Arc เริ่มกระบวนการเชื่อม ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าความต่ำเพื่อลดการสปาร์คและการกระเพิ่มกระแสไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม โดยฟีเจอร์ Lift TIG จะอยู่ในเครื่องเชื่อมอื่นๆ เช่น เครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA เครื่องเชื่อม MIG ซึ่งเครื่องเชื่อม MMA และเครื่องเชื่อม MIG ของพัมคินก็มีฟังก์ชั่นนี้ การเชื่อม Lift TIG เริ่มด้วยการสัมผัสปลายเชื่อมทังสเตน (Tungsten Electrode) กับชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม จากนั้นจึงปรับกระแสไฟฟ้าให้เหมาะสมและยกเชื่อมทังสเตนขึ้นออกจากชิ้นงาน เมื่อปลายทังสเตนถูกยกขึ้นจะทำให้เกิดแสงฟ้าแลป (arc) ที่ใช้ในการเชื่อม กระบวนการนี้แค่แตะให้อาร์คแล้วก็ยกขึ้น ทำให้เมีการเรียกว่า ทิกเขี่ยนั่นเอง