แชร์ไปที่

คัมภีร์ลับฉบับช่างเชื่อม อ่านจบปรับกระแสไฟเป็น

การเชื่อมอาร์กด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Shielded Meral Arc Welding; SMAW) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ MMA เป็นกรรมวิธีการเชื่อมโดนอาศัยความร้อนที่ได้จากการอาร์กระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์กับชิ้นงาน อาศัยเครื่องเชื่อมเป็นต้นกำลังในการผลิตกระแาเชื่อม และจ่ายกระแาไปตามสายเชื่อมสู่ชิ้นงานและลวดเชื่อม โดยแกนลวดเชื่อมทำหน้าที่เป์นอิเล็กโทรด และเป็นโลหะเติมลงไปในแนวเชื่อม ส่วนฟลักซ์ที่ห่อหุ่มนั้น เมื่อได้รับความร้อน ฟลักซ์บางส่วนจะกลายเป็นแก๊สคลุมบ่อหลอมเหลวไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปทำปฏิกิริยากับน้ำโลหะที่บ่อหลอมเหลว และฟลักซ์อีกบางส่วนจะหลอมละลายปกคลุมแนวเชื่อมเพื่อช่วยลดอัตราการเย็นตัว และเมื่อตัวฟลักซ์นั้นเย็นตัวลงก็จะกลายเป็ยของแข็งลักษณะเปราะ เรียกว่า “สแลก” 

วิธีการเชื่อมด้วยการอาร์กนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะมีกระบวนการเชื่อมง่าย ไม่ซับซ้อน มีความสะดวกและคล่องตัวสูง เครื่องมือและอุปกรณ์มีราคาถูก หาซื้อง่าย โดยเครื่องเชื่อมที่นิยมใช้กันในปัจจุบันนั้นเป็นเครื่องเชื่อมในระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter)

เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์เป็นเครื่องเชื่อมชนิดใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในการควบคุมกระแสไฟเชื่อม โดยข้อดีของเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์คือ มีน้ำหนักเบา สามารถใช้ได้ทั้งกับไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ โดยสามารถใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้า 220 โวลต์ที่ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไปได้ นอกจากนั้นแล้วยังประหยัดค่าไฟฟ้า (มากกว่าเครื่องเชื่อมระบบอื่น ๆ) มีประสิทธิภาพด้านพลังงานสูง ความสูญเสียพลังงานน้อยกว่าระบบหม้อแปลง ให้กระแสไฟที่สูงและคงที่สม่ำเสมอ ควบคุมกระแสและแรงดันไฟฟ้าได้ละเอียดแม่นยำ มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง 

โดยอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องเชื่อมมีดังนี้

หัวจับลวดเชื่อม (Electrode Holder)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อเข้ากับสายเชื่อมซึ่งต่อมาจากเครื่องเชื่อมเพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลครบวงจร นอกจากนี้ยังใช้จับลวดเชื่อมและเป็นมือถือขณะเชื่อมอีกด้วย หัวจับลวดเชื่อมมีหลายขนาดและหลายรูปร่างตามความเหมาะสมกับการใช้งาน โดยแบ่งขนาดตามกระแสไฟฟ้าสูงสุดของเครื่องเชื่อมที่ใช้ เช่น ถ้าใช้เครื่องเชื่อมขนาด 350 แอมแปร์ ควรเลือกหัวจับลวดเชื่อมที่ใช้กับกระแสไฟฟ้า 350 แอมแปร์ 

สายไฟเชื่อม (Cables)

สายเชื่อมเป็นส่วนทำหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าจากเครื่องเชื่อมไปสู่บริเวณอาร์ก สายเชื่อมแบ่งออกเป็น 2 สาย คือ “สายเชื่อม” และ “สายดิน” โดยสายเชื่อมต่อเข้ากับหัวลวดเชื่อมและสายดินต่อเข้ากับคีมจับสายดิน การเลือกสายเชื่อมใช้หลักการเดียวกับการเลือกหัวจับลวดเชื่อม นั่นคือควรเลือกให้เหมาะสมกับกระแสเชื่อมที่ใช้นั่นเอง

คีมจับสายดิน

คีมจับสายดินเป็นส่วนที่หลายคนมองข้ามหรือไม่ให้ความสำคัญเท่าที่ควร แต่ก็เป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่แพ้อุปกรณ์อื่น ๆ โดยจะทำหน้าที่ในการจับชิ้นงานหรือโต๊ะเชื่อมเพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลครบวงจร ในการประกอบสายดินมีข้อสำคัญคือต้องจับยึดให้แน่น เพราะหากสายกินหลวมจะทำให้เกิดความต้านทานของกระแสไฟฟ้าสูง เกิดการสูญเสียของพลังงานในการเชื่อม บริเวณรอยต่อเกิดความร้อนสูง และอาจเป็นอันตรายต่อผู้เชื่อมได้ 

ค้อนเคาะสแลค

ค้อนเคาะสแลคในปัจจุบันมักรวมอยู่กับแปรงลวดแบบ 2 in 1 โดยจะทำหน้าที่เคาะสแลคที่ปกคลุมอยู่บนรอยเชื่อมออก และใช้แปรงในการขัดทำความสะอาดเศษสแลคออกจากรอยเชื่อม

โดยเครื่องเชื่อมของพัมคินทุกรุ่นที่สวางจำหน่ายจะมีอุปกรณ์เสริมที่กล่าวมาข้างต้นแถมมาในกล่องพร้อมตัวเครื่องเชื่อมอย่างครบครัน แกะกล่องแล้วสามารถใช้งานได้ทันที 

การเลือกลวดเชื่อมให้เหมาะกับงานเชื่อมของคุณ

ลวดเชื่อมธูปหรือลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลั๊กซ์ เป็นลวดเชื่อมที่นิยมใช้งานกันมากจะมีลักษณะคล้ายธูปด้านในเป็นลวดโลหะ เช่น ลวดเชื่อมเหล็ก และลวดเชื่อมสแตนเลส สามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของชิ้นงานที่ต้องการ โดยสัญลักษณ์บนห่อลวดเชื่อมนั้นจะมีความคล้ายคลึงกับ Name Plate  ที่ปรากฏบนเครื่องเชื่อม นั่นคือการบอกขอบเขตการใช้งานของลวดเชื่อมนั้น ๆ โดยสัญลักษณ์ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และเลข 4 หลักที่ปรากฏบนลวดเชื่อมมีความหมายดังนี้ (กรุณาดูภาพประกอบด้านบน)

ตัวอักษรตัวแรก คือชนิดของกระแส/ ชนิดของวัตถุเคลือบ โดยตัว E หมายถึง ลวดเชื่อมอาร์กไฟฟ้า

XX หมายถึงตัวต้านทานแรงดึงที่น้อยที่สุด (ค่า XX คูณด้วย 100) มีหน่วยเป็น PSI  ตัวเลข 60 หมายถึง มีค่าแรงตึงต่ำสุดอยู่ที่ 60,000 PST

1 หมายถึง เชื่อมได้ทุกท่า

หลักสุดท้ายเป็นเลขแสดงคุณสมบัติของลวดเชื่อม

โดยนอกจากตัวเลขบอกมาตรฐานของลวดเชื่อมแล้ว ข้างห่อลวดเชื่อมจะมีค่าแนะนำกระแสไฟที่เหมาะสำหรับการเชื่อมอีกด้วย 

กระแสไฟเชื่อม

การใช้กระแสไฟในการเชื่อมนั้นจะต้องมีความเหมาะสมกับชนิดและขนาดของลวดเชื่อมและขนาด (ความหนา) ของชิ้นงาน ผู้ทำหารเชื่อมจำเป็นต้องปรับกระแสไฟให้ถูกต้อง เพราะกระแสไฟเชื่อมเป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการเชื่อมและคุณภาพของแนวเชื่อม หากปรับกระแสไฟเชื่อมต่ำเกินไปจะทำให้แนวเชื่อมกองนูนมาก ขอบแนวเชื่อมไม่หลอมรวมตัว มีสแลคฝังในและเกิดโพรงอากาศ หากปรับกระแสไฟเชื่อมสูงเกินไปจะทำให้เกิดบ่อหลอมเหลวกว้าง การควบคุมบ่อหลอมเหลวทำได้ยาก เกิดการกัดขอบตามความยาวของแนวเชื่อมไปจนถึงทำให้เกิดรอยเชื่อมทะลุได้เลย

การปรับกระแสไฟเชื่อม MMA โดยใช้ค่าที่เหมาะสมระหว่างความหนาของชิ้นงานและลวดเชื่อม

(ตามตารางด้านบน) การปรับกระแสไฟวิธีนี้เป็นการเลือกช่วงกระแสไฟเชื่อมให้เหมาะสมกับขนาดของชิ้นงานและขนาดของลวดเชื่อม นอกจากนั้นยังมีค่ากระแสไฟแนะนำสำหรับเหล็กในแต่ละขนาด แต่ละประเภทอีก ดังนี้

ลวดเชื่อมขนาด 1.6 มม. เหมาะสำหรับเหล็กบาง 0.8 – 1.0 มม. และงาน DIY ทั่วไป

ลวดเชื่อมขนาด 2.0 มม. เหมาะสำหรับเหล็กบางประมาณ 1 มม.

ลวดเชื่อมขนาด 2.6 มม. เหมาะสำหรับเหล็กตัวซี, เหล็กกล่อง และเหล็กทั่วไป

ลวดเชื่อมขนาด 3.2 มม. เหมาะสำหรับงานโครงสร้างเหล็กทั่วไป จนถึงงานเชื่อมเรือเดินทะเล

สำหรับคนที่เพิ่งหัดเชื่อม หรือต้องเชื่อมชิ้นงานขนาดความหนาที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน ในบางครั้งการจำค่ากระแสไฟที่เหมาะสมกับชิ้นงานหรือลวดเชื่อมอาจคลาดเคลื่อนได้ ช่างเชื่อมมือใหม่จึงควรมีไอเทมดี ๆ ที่จะมาช่วยคำนวณกระแสไฟให้อัตโนมัติ นอกจากจะให้ความสะดวกสบายต่องานเชื่อมแล้ว ยังมีความแม่นยำ ลดความผิดพลาดจากการเชื่อมซึ่งช่วยลดการสูญเสียชิ้นงานได้อีกด้วย 

เครื่องเชื่อม MMA ซีรีส์ XTREME คำนวณกระแสไฟให้คุณโดยอัตโนมัติ

ช่างเชื่อมหลายท่านน่าจะเคยประสบปัญหาปรับกระแสไฟไม่เหมาะกับชิ้นงานและลวดเชื่อมที่ใช้ นอกจากจะทำให้ชิ้นงานที่เชื่อมออกมาไม่สวยงามและ ยังทำให้เชื่อมทะลุ เชื่อมไม่ต่อเนื่อง ไปจนถึงปัญหาอื่น ๆ อย่างการเชื่อมติด โดนไฟดูดระหว่างเปลี่ยนลวดเชื่อม 

พัมคินมีไอเทมที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ นั่นก็คือเครื่องเชื่อม XTREME ตู้เชื่อมแห่งอนาคต ตู้เชื่อมอัจฉริยะ “ฉลาด ทนทาน ชัวร์ทุกงานเชื่อม”

ให้คุณทำงานเชื่อมได้อย่างมือโปร

✅ ง่ายขึ้น : ให้คุณเชื่อมได้ง่ายดายยิ่งขึ้น เพียงเลือกขนาดลวดที่ใช้ หรือเลือกความหนาของชิ้นงาน

✅ ช่วยคิดคำนวณ : ระบบสมองกล AI คำนวณกระแสไฟอัตโนมัติ โดยเลือกได้จากความหนาของชิ้นงานหรือขนาดของลวดเชื่อม ตู้เชื่อมจะกำหนดกระแสไฟเชื่อมให้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องปวดหัวกับการปรับกระแสไฟไปมาอีกต่อไป

✅ พลังดี: ท้าพิสูจน์ กระแสไฟออกเต็ม

มาพร้อม 4 ฟังก์ชัน ช่วยช่างเชื่อม Hot Start เพิ่มกระแส เริ่มต้นเชื่อมได้อย่างรวดเร็ว, ARC FORCE ช่วยหลอมละลาย เชื่อมต่อเนื่อง ลากยาวได้ไม่มีสะดุด, ANTI STICK ป้องกันลวดเชื่อมติดชิ้นงาน, VRD ป้องกันไฟดูดขณะเปลี่ยนลวดเชื่อม ตัวเครื่องระบายความร้อนได้ดี เชื่อมต่อเนื่องได้นาน กันกระแทกรอบเครื่อง สายไฟยาว 6 เมตร คล่องตัวในทุกการใช้งาน ใช้กับสายเชื่อมได้ยาวถึง 100 เมตร มาพร้อมอุปกรณ์เสริมครบครันในกล่อง พัมคินใจป้ำ ให้การรับประกันยาวนานถึง 30 เดือน เป็นอีกหนึ่งตู้เชื่อมที่เหมาะกับผู้เริ่มเชื่อม ผู้ทำงาน DIY ไปจนถึงช่างมืออาชีพก็สามารถใช้งานได้ เพื่องานที่ดีกว่า เนียนกว่า จบไวมากกว่าเดิม

การเชื่อม MMA เป็นกระบวนการเชื่อมที่ได้รับความนิยมเพราะมีข้อดีหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นกรรมวิธีการเชื่อมที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน เครื่องเชื่อมและอุปกรณ์เสริมรวมถึงลวดเชื่อมที่มีราคาไม่สูง หาซื้อง่าย โดยเคล็ดลับการเชื่อมนั้นผู้เชื่อมต้องมีความเข้าใจในการปรับกระแสไฟให้เหมาะกับความหนาของชิ้นงานและขนาดของลวดเชื่อม เพราะพัมคินเข้าใจความสำคัญในข้อนี้ จึงได้พัฒนาเครื่องเชื่อม MMA ในซีรีส์  XTREME ขึ้นเพื่อช่วยในการคำนวณกระแสไฟเชื่อมให้เหมาะกับงานของคุณได้อย่างอัตโนมัติ พร้อมด้วยฟังก์ชันครบครันที่จะเนรมิตผู้ใช้ให้กลายเป็นช่างเชื่อมมืออาชีพ


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies)
Pumpkin ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา

บริษัท พัมคิน คอร์ปอเรชัน จำกัด (“บริษัท”) เก็บข้อมูลของท่านเพื่อใช้ในการสั่งซื้อสินค้และรับประกันสินค้า และขอความยินยอมในการนำข้อมูลไปใช้ทางการตลาด โดยท่านสามารถดูรายละเอียดข้อมูลที่เก็บ ระยะเวลาการเก็บ การใช้สิทธิเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรืออื่นๆ และข้อมูลการติดต่อได้ที่รายละเอียด (กดดูรายละเอียด)

0
No products in the cart.