ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คนไทยส่วนใหญ่เริ่มรู้จักและคุ้นเคยกับสิ่ง ๆ ที่เรียกว่า ฝุ่น PM2.5 ที่มักมาเยือนในช่วงหน้าแล้ง ปกคลุมน่านฟ้าหลายพื้นที่ของประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปลายฤดูหนาวลากยาวจนถึงช่วงฤดูร้อน ซึ่งต้นตอหลัก ๆ ของปัญหาควันพิษที่เกิดขึ้นนั้น มีทั้งปัญหาไฟป่าและการเผาผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะในหลายจังหวัดทางภาคเหนือที่มีสถิติผู้ป่วยด้วยโรคจากมลพิษทางอากาศนับแสนคนต่อปี ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ตามด้วยกลุ่มโรคตาอักเสบ โรคหลอดเลือดสมอง โรคคออักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดอักเสบ โรคจมูกอักเสบเรื้อรัง โรคหอบหืด ไข้หวัดใหญ่ โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ตลอดจนถึงโรคที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายระยะยาว
เมื่อพูดถึงปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย หนึ่งในปัจจัยที่ถูกพูดถึงเป็นลำดับต้น ๆ คือเรื่องไฟป่า หมอกควันที่เกิดจากไฟป่า เกิดจากการสันดาปที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้เกิด ควันไฟ ฝุ่นละออง หมอก ขี้เถ้า และแก๊สพิษต่าง ๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ก๊าซโอโซน (O3) เป็นต้น โดยมลพิษพวกนี้จะปนเปื้อนอยู่กับอนุภาคหมอกควัน ซึ่งแน่นอนว่าพื้นที่ที่อากาศแห้ง นิ่ง ไม่มีลมพัด จะเสี่ยงที่จะได้รับสารมลพิษมากกว่าพื้นทื่อื่น เพราะฝุ่นละอองเหล่านี้ สามารถแขวนลอยในอากาศได้นานมาก ยิ่งมีขนาดเล็กยิ่งแขวนลอยได้นานเป็นปี
มลพิษทางอากาศในภาคเหนือนั้นจะสูงกว่าที่อื่น เพราะว่าภูมิประเทศของภาคเหนือนั้นมีภูเขาล้อมรอบ ทำให้เกิดการสะสมมลพิษ แถมยังรับแรงความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ทำให้ช่วงเช้าอากาศจะชื้น เมื่อละอองน้ำในอากาศชื้นเหล่านี้รวมตัวกับสารมลพิษในอากาศก็จะเกิดเป็นหมอกพิษปกคลุมไปทั่วเมือง
นอกจากฝุ่นควันที่เกิดขึ้นจากไฟป่าแล้ว การเผาในภาคการเกษตรยังเป็นอีกต้นเหตุในการก่อให้เกิดฝุ่นพิษ PM 2.5 การเผาหลังเก็บเกี่ยวข้าว อ้อย และพืชอื่น ๆ โดยสสารมลพิษในอากาศ จะอยู่ใน 2 รูปแบบคือ รูปแบบก๊าซ และรูปแบบอนุภาคแขวนลอย ซึ่งจะปนเปื้อนอยู่ในอากาศที่เราหายใจเข้าไปอยู่ทุกวัน โดยสุขภาพของเราจะได้รับผลกระทบจากสารมลพิษแตกต่างกันไปตามขนาดของฝุ่นละออง ความเข้มข้น และระยะเวลาที่สัมผัส รวมไปถึงสภาพร่างกายของผู้ที่รับมลพิษเข้าไป
นอกจากควันพิษจากไฟป่าและภาคการเกษตรที่ส่งผลกระทบในหลายจังหวัดและสามารถพัดพาไปได้ไกลจนปกคลุมเกือบทั่วประเทศแล้ว ผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลก็ยังต้องเผชิญกับมลภาวะจากท่อไอเสียและการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์จากรถยนต์และจักรยานยนต์ ก่ออันตรายต่อร่างกายเมื่อ หาย ใจ เอา ก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซ นี้ จะ ทำ ปฏิกิริยากับ ฮีโมโกล บิน ใน เม็ด เลือด แดง กลาย เป็น คาร์บ๊อก ซี่ฮีโมโกล บิน ทำ ให้ การ ลำเลียงอ๊อก ซิ เจน จาก ปอด ไป เลี้ยง ส่วน ต่าง ๆ ของ ร่าง กาย ไม่ เพียง พอถ้า มี ก๊าซ นี้ ใน อากาศ ที่ เรา หาย ใจ เพียง 60 ส่วน ใน ล้าน ส่วน จะ ทำ ให้ เกิด อาการ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หมด สติ ใน กรณี ที่ มี ก๊าซ นี้ เกิน 5,000 ส่วน ใน ล้าน ส่วน ของ อากาศ ที่ เรา หาย ใจ จะ ทำ ให้ เกิด อันตราย ถึง ตาย ได้
กลับมาที่ฝุ่นพิษ PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นขนาดเล็กจิ่ว โดยขนาดอนุภาคที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์คือ อนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-10 ไมครอน หรือเรียกว่า สารอนุภาค (Particulate Matter) PM10 และ อนุภาคที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 หรือเรียกว่า สารอนุภาค (Particulate Matter) PM2.5 โดยหมอกควันไฟจะปนเปื้อนไปด้วย ฝุ่นละอองขนาด PM2.5 และ PM10 โดยเจ้าฝุ่น PM2.5 นี้จะสามารถเข้าสู่ปอดและกระจายไปทั่วร่างกายได้โดยง่ายและส่งผลกระทบต่อร่างกายได้มากกว่าที่คิด ทั้งอาการเจ็บป่วยเฉียบพลันและสะสมเป็นผลเสียต่อสุขภาพระยะยาว
บทเรียนจากปัญหาฝุ่นพิษที่เกิดขึ้นหลายปีที่ผ่านมาน่าจะทำให้หลายคนตระหนักแล้วว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาที่สามารถแก้ไขได้โดยง่าย และคนไทยน่าจะต้องอยู่ในสภาพอากาศไม่สะอาดเช่นนี้กันไปอีกนาน รวมถึงการระบาดของโควิดที่กลายพันธุ์จนกลายเป็นโรคประจำถิ่นที่วนกลับมาระบาดอยู่เนือง ๆ เพราะฉะนั้นแล้วการป้องกันดูแลสุขภาพของทุกคน ทุกเพศทุกวัยจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
ด่านแรกที่จะป้องกันทั้งเชื้อโรคและควันพิษเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานง่าย สามารถใช้งานได้ทุกวัน นั่นก็คือการสวมใส่หน้ากากอนามัยนั่นเอง แต่ไม่ใช่ว่าหน้ากากอนามัยทั่วไปตามท้องตลาดจะสามารถป้องกันฝุ่นควันพิษและเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งหมด บทความนี้พัมคินจะชวนทุกท่านมาเช็คให้ชัวร์ว่าหน้ากากอนามัยแบบไหนที่จะตอบโจทย์การป้องกันฝุ่น PM 2.5 และเชื้อโรคต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เช็คให้ชัวร์ เลือกหน้ากากอนามัยอย่างไรให้กันได้ทั้งฝุ่นและเชื้อโรค
เลือกใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์
หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพควรเป็นหน้ากากอนามัยที่ระบุว่า หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ / Medical mask / Hygienic Mask หรือ Surgical mask หากบนกล่องมีข้อความเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งระบุเอาไว้ก็มั่นใจได้ว่าสวมใส่แล้วปลอดภัยแน่นอน หน้ากากอนามัยทางการแพทย์แบบใช้แล้วทิ้งที่พบเห็นได้ทั่วไป ช่วยป้องกันได้ตั้งแต่โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ป้องกันฝุ่นและเกสรดอกไม้ขนาดเล็กได้ถึง 3 ไมครอน และที่สำคัญคือ ป้องกันเชื้อไวรัส และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากคนสู่คนได้มากถึง 99% เป็นหน้ากากอนามัยที่แพทย์สวมใส่ปฏิบัติหน้าที่
ประสิทธิภาพการป้องกันสารคัดหลั่ง, แบคทีเรีย และอนุภาคขนาดเล็ก
บนกล่องหน้ากากอนามัยจะมีตัวย่อภาษาอังกฤษเขียนกำกับเอาไว้ ตัวย่อเหล่านี้แสดงถึงประสิทธิภาพการป้องกันของหน้ากากอนามัย ควรเลือกใช้หน้ากากอนามัยที่มีตัวย่อ ตัวย่อ BFE ซึ่งหมายถึงประสิทธิภาพในการกรองและป้องกันเชื้อแบคทีเรีย หน้ากากอนามัยที่มีตัวย่อ BFE กำกับไว้จะสามารถกรองอนุภาคแบคทีเรียขนาดเล็กตั้งแต่ 3 ไมครอน ขึ้นไป เช่น เกสรดอกไม้ ละอองสารคัดหลั่ง ฝุ่นละออง ควรเลือกที่ BFE ตั้งแต่ 98% ขึ้นไป
3 ชั้นชัวร์สุด
หลังการระบาดหนักของเชื้อไวรัสหลายต่อหลายระลอกทั่วโลก CDC (Centers for Disease Control) หรือศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา แนะนำให้สวมใส่หน้ากาก 2 ชั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ให้มากขึ้น โดยสวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ไว้ด้านใน และสวมหน้ากากผ้าทับเอาไว้ด้านนอก จะช่วยเพิ่มความกระชับ และลดช่องว่างระหว่างใบหน้ากับหน้ากากอนามัย ป้องกันไม่ให้มีเชื้อไวรัสหรือละอองฝอยจากสารคัดหลั่งเล็ดลอดเข้าไปได้ ในปัจจุบันการผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์จึงมีการออกแบบให้มีจำนวนชั้นหนาขึ้น เพื่อป้องกันเชื้อโรค ฝุ่นพิษ และยังสามารถกระชับใบหน้าและสวมใส่สบายอีกด้วย
มีประสิทธิภาพด้านการป้องกันแล้วต้องสวมใส่สบายด้วย
หน้ากากอนามัยที่สวมใส่สบายจะทำให้สามารถสวมใส่ได้ทั้งวัน ลดการใส่ ๆ ถอด ๆ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการหายใจและการสัมผัส
ไอเทมแนะนำหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 3 ชัน “Take Care Plus”
ข่าวเตือนกันให้วุ่น ว่าฝุ่น PM 2.5 เริ่มกลับมาอีกแล้ว โดยเฉพาะในเขต กทม. และ ปริมณฑล และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย เราก็เลยกลับมาผลิตหน้ากากอนามัยที่จะให้คุณได้สวมใส่ได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัยทุกวัน พร้อมการปกป้อง 3 ชั้น “Take Care Plus” มีให้เลือกทั้งสีขาวและสีเขียว ป้องกันเชื้อโรคอยู่หมัด สกัดฝุ่นละอองอย่างมั่นใจ ปลอดภัยในทุกวัน ด้วย “Take Care Plus” หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 3 ชั้น มาตรฐานสินค้าพัมคินแบรนด์คนไทย
เป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ป้องกันได้ตั้งแต่โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ป้องกันฝุ่นและเกสรดอกไม้ขนาดเล็กได้ถึง 3 ไมครอน และที่สำคัญคือ ป้องกันเชื้อไวรัส และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจากคนสู่คนได้มากถึง 99%
มาตรฐานการป้องกัน BFE มีประสิทธิภาพในการกรองและป้องกันเชื้อแบคทีเรีย หน้ากากอนามัยที่มีตัวย่อ BFE กำกับไว้จะสามารถกรองอนุภาคแบคทีเรียขนาดเล็กตั้งแต่ 3 ไมครอน ขึ้นไป เช่น เกสรดอกไม้ ละอองสารคัดหลั่ง ฝุ่นละออง ควรเลือกที่ BFE ตั้งแต่ 98% ขึ้นไป
หนา 3 ชั้น โดยชั้นนอกมีแผ่นกรองกันน้ำ ป้องกันสารคัดลอง ละอองฝอยต่าง ได้เป็นอย่างดี ชั้นกลางกรองและป้องกันอนุภาคแบคทีเรียขนาดเล็กตั้งแต่ 3 ไมครอนได้ถึง 99% และแผ่นกรองชั้นในสุดมีความอ่อนนุ่ม โอบกระชับใบหน้า ทำให้สวมใส่สบาย ใส่ได้ทั้งวัน
ผลิตจากวัตถุดิบที่สะอาด ได้มาตรฐาน มีความแข็งแรงทั้งตัวหน้ากากและหูเกี่ยว ไม่ขาดง่าย