เจียรมือ หรือที่เรียกกันแบบลำลองว่าลูกหมู โดยชื่ออันน่ารักน่าชังนี้ มีหน้าตามาจากการที่เจียรมือในยุคก่อนมีตัวเรือนอวบอ้วนรูปร่างคล้ายลูกหมูตามสไตล์ช่างไทย ศัพท์ไม่ซ้ำชาติใดในโลก เจียรมือเป็นเครื่องมือสามัญประจำช่างที่อยู่คู่ผู้ทำงานช่างมาอย่างยาวนาน ทำงานได้อย่างอเนกประสงค์เพราะช่างไทยเราใช้ทั้งเจียร ตัด ขัด จนกระทั่งดัดแปลงหลายรูปแบบอย่างการใช้เลื่อยบาร์โซ่มาประะกอบติดก็มี ด้วยรูปแบบการทำงานโดยใช้การหมุนจำนวนรอบสูงต่อนาที เมื่อใช้กับใบตัด ใบขัด หรือใบเจียร จึงอาจทำให้เกิดอันตรายได้หากขาดความระมัดระวังในการใช้งาน จากข้อมูลของราชสมาคมป้องกันอุบัติเหตุแห่งสหราชอาณาจักร (UK’s Royal Society for the Prevention of Accidents) พบว่าเครื่องเจียนจัดเป็นเครื่องมือกลที่มีอันตรายมากโดยติดหนึ่งในสิบของเครื่องมือกลที่มีความเสี่ยงสูงและมีอุบัติเหตุมากกว่า 5,400 กรณีในทุกปี วันนี้พัมคินมีข้อควรรู้เพื่อการใช้ลูกหมูหรือเจียรมืออย่างปลอดภัยมาฝากกันค่ะ การตรวจสอบเบื้องต้น ใบตัดมีการแตกบิ่นหรือไม่ ที่สำคัญในทุกครั้งก่อนการใช้งานเจียรมือต้องเช็คความแน่นของใบที่ใส่กับตัวเครื่อง การ์ดบังใบก็เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ช่วยป้องกันอันตรายจากการใช้งานเครื่องเจียร นอกจากนั้นระบบเซฟตี้สวิตซ์ก็สำคัญ เครื่องเจียรที่ผลิตอย่างได้คุณภาพ มีระบบเซฟตี้ที่ดีก็ทำให้การทำงานของคุณปลอดภัยมากกว่า เจียรมือใช้กับใบตัดได้หลากหลายชนิด การเลือกซื้อใบตัด ใบเจียรต่าง ๆ ต้องเลือกจากจำนวนรอบที่เหมาะสมกับเครื่องเจียร ซึ่งจำนวนรอบจะระบุอยู่บนใบตัด ไม่แนะนำให้ใช้กับใบตัดที่ความเร็วรอบไม่สัมพันธ์กับรอบเครื่องเจียร เพราะอาจเกิดการสะบัด และแตกหัก ก่อให้เกิดอันตรายได้ อุปกรณ์ป้องกันพื้นฐานที่จำเป็น เช่น ถุงมือ แว่นเซฟตี้ เอียร์ปลั๊ก เป็นไอเทมสำคัญที่ช่างบางคนอาจมองว่าไม่สำคัญ เพราะเกะกะ ยุ่งยาก […]